มืออาชีพและบันได 5 ขั้นของความสามารถ

คุณนิยาม มืออาชีพ ว่าอย่างไร?

ระหว่างที่ฟังคุณวิเชียร จึงวิโรจน์ กรรมการบริหารและ กรรมการผู้จัดการ (ร่วม) ของ CP ALL เล่าเรื่องการบริหารคนในองค์กร ท่านก็ถามผมขึ้นมา ซึ่งผมก็คิดซักพักแล้วตอบอย่างกระอ้อมกระแอ้มว่า มืออาชีพน่าจะเป็นคนที่มีความสามารถ รู้หน้าที่ และทำตามมาตรฐานที่องค์กรคาดหวังได้ดี ทำให้สิ่งที่ควรทำโดยไม่อิงกับความรู้สึกของตัวเอง ท่านฟังแล้วพูดขึ้นว่า ในมุมของท่าน

มืออาชีพ คือ บุคคลที่สมควรได้รับค่าจ้าง

คุณวิเชียรคงเห็นผมนั่งนิ่ง อ้าปากค้างเลยขยายความต่อว่า มืออาชีพคือคนที่มีความสามารถและทำงานได้ตามที่คาดหวังได้ 100% ถึงเป็นคนที่สมควรได้รับค่าจ้าง 100% ด้วย

ถ้ามองในมุมของนายจ้าง สามารถมองความความสามารถโดยดูจากผลลัพธ์ของงานได้ 5 ระดับเหมือนบันได 5 ขั้น ในแผนภาพนี้

4 ประสบการณ์เพิ่ม Employee eXperience

ในวงการ HR ช่วงปีนี้ คำว่า Employee eXperience หรือการสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับพนักงาน เป็นหัวข้อที่มาแรงมากๆ หลายคนยังอาจไม่แน่ใจว่าคืออะไร และควรเริ่มพัฒนาตรงไหน อย่างไรดี

ถ้าพูดถึง Employee eXperience เราจะไม่ได้มองแค่ช่วงเวลาที่เป็นพนักงานแล้วเท่านั้น แต่จะรวมถึงประสบการณ์ทุกอย่างของพนักงานตั้งแต่ช่วงที่ได้รู้จักองค์กรครั้งแรก ไปถึงหลังจากที่พนักงานออกจากองค์กรไปแล้ว

ถามว่าถ้านิยามของ Employee eXperience ครอบคลุมกว้างขนาดนี้ องค์กรหรือทีม HR ควรจะเริ่มอย่างไร

โอกาสสำหรับ HR ในวิกฤตโรคโควิด 19

มีคนบอกว่าในทุกวิกฤตจะมีโอกาส…

ในช่วงที่ปัจจัยลบต่างๆ ทั้งปัญหาฝุ่น PM2.5 หรือโรคโควิด 19 ที่ส่งผลกระทบกับภาพเศรษฐกิจระดับโลก ยอดนักท่องเที่ยวลด ยอดขายตก ลงมาถึงเรื่องใกล้ตัวอย่างการหาซื้อหน้ากาก หรือแอลกอฮอล์ล้างมือ คนที่ทำงานสาย HR มองเห็นโอกาสอะไรในวิกฤตนี้บ้าง?

นอกเหนือจากความเหนื่อยของทีม HR ที่ต้องคอยตามสถานการณ์ ปรับแผนรับมือกับสถานการณ์ เพื่อความปลอดภัยของพนักงาน โดยธุรกิจไม่สะดุด ไปจนถึงตามหาซื้อหน้ากาก หรือเจลล้างมือมาแจก เตรียมแผนปรับวิธีการทำงาน ในกรณีที่ออร์เดอร์ หรือลูกค้าหายไปอย่างไม่ทันตั้งตัว ผมเห็นโอกาส

โอกาสที่จะโน้มน้าวผู้บริหารและพนักงานในองค์กรให้เห็นความสำคัญของการสร้าง Agile Business Culture

ที่ผ่านเราหลายคนยังนึกว่าการที่องค์กรปรับตัวเร็วเป็นเรื่องที่ไกลตัว ทำได้ก็ดี Nice to have

วิกฤตนี้ทำให้คนเข้าใจจริงๆ ว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องของความอยู่รอดขององค์กร ไม่ใช่เรื่องของการทำเพื่อเป็นผู้นำของอุตสาหกรรมอีกต่อไป

ในช่วงสถานการณ์แบบนี้ HR สามารถนำผู้บริหารตระหนัก และสร้าง agile culture ได้ในรูปแบบต่างๆ เช่น

10 สัญญาณอันตรายในมุมของคนสัมภาษณ์งาน

งานสมัยนี้ไม่ได้หากันง่ายๆ หากคุณได้ผ่านการกรองใบสมัครไปถึงรอบสัมภาษณ์ โอกาสของคุณในฐานะแคนดิเดตที่จะได้งานก็เพิ่มขึ้นอีกไม่น้อย ถ้าคุณตอบคำถาม และนำเสนอตัวเองได้ดี เข้าตาผู้สัมภาษณ์

นอกเหนือจากคุณสมบัติ และประสบการณ์ซึ่งขึ้นอยู่กับตัวบุคคล และสิ่งที่ผู้สัมภาษณ์มองหาสำหรับตำแหน่งที่เปิดอยู่ ผมอยากจะแบ่งปัน 10 สัญญาณอันตราย หรือเป็น Red Flag ในมุมของผู้สัมภาษณ์ ถ้าเห็นแคนดิเดตตอบคำถาม หรือมีลักษณะอย่างนี้ อาจต้องหยุดพิจารณาเป็นพิเศษ โดยผมดึงมุมมองบางส่วนมาจากหนังสือ Who: The A Method for Hiring ที่ผู้เขียนกลั่นมาจากประสบการณ์ในที่เป็นผู้สัมภาษณ์หาผู้บริหารให้กับองค์กรใหญ่ๆ

ไม่เพียงมีประโยชน์เฉพาะแคนดิเดตที่กำลังเตรียมตัวสัมภาษณ์งาน หากคุณเป็น Hiring Manager หรือ HR ก็สามารถปรับใช้ Red Flag 10 ข้อนี้เพื่อช่วยกรองคนที่สัมภาษณ์ได้เช่นกัน

1. แคนดิเดตไม่ได้พูดถึงความผิดพลาด หรือความล้มเหลวของตัวเองในอดีตเลย

ประสบความสำเร็จมาตลอด ไม่เคยทำอะไรพลาดเลย

3 ปัจจัยที่มีผลกับ Career Development

องค์กร และเราในฐานะพนักงานควรจะวาง Career และ Career Development เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับตำแหน่งงานที่เพิ่งมี หรือกำลังจะเกิดในอนาคตอย่างไร?

นี่เป็นคำถามที่ผมที่ตั้งเป็นโจทย์ให้ตัวเอง ในการเตรียมข้อมูลสำหรับการแชร์ในหัวข้อ Career Development in the Disruptive World จากที่ผมได้อ่านและศึกษาข้อมูลจากแหล่งต่างๆ

ก่อนที่จะมองว่าเราจะเตรียม career development ของตัวเราเอง หรือของบริษัทเรา (ในฐานะ HR) อย่างไร ผมเริ่มจากการหาปัจจัยที่มีผลกับการต้องเปลี่ยนรูปแบบของการทำ Career Development ซึ่งผมแบ่งออกเป็น 3 ปัจจัย คือ

1. Business Disruption

ในโลกที่ Business Disruption กลายเป็นเรื่องปกติของธุรกิจ ผลกระทบไม่ได้เกิดเพียงบางอุตสาหกรรม หรือบางวงการเท่านั้น ตำแหน่งงานหลายตำแหน่งอาจหายไป หรือมีตำแหน่งงานใหม่จากเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป ทำให้การวางแผน career ไม่ใช่สิ่งที่จะวางแผนได้ 10-15 ปีเหมือนเมื่อก่อน