3 สิ่งที่จะสำคัญกว่าใบสมัครของคุณ

สำหรับคนที่กำลังหางานในยุคที่งานน้อยกว่าคน อะไรคือสิ่งที่องค์กรมองหา และจะช่วยให้เราเพิ่มโอกาสในการหางาน?

สำหรับนายจ้าง หรือหัวหน้างาน อะไรคือสิ่งที่ควรมองหาเพื่อที่จะได้ทีมที่ดี ช่วยขับเคลื่อนองค์กรไปด้วยกัน โดยไม่ต้องพะวงกับการจัดการกับดราม่า

ผมเชื่อว่าคำถามนี้หลายคนอยากทราบ รวมทั้งตัวผมเองด้วย อย่างที่ทราบกันว่าข้อมูลใน resume หรือทักษะต่างๆ ของผู้สมัครก็ไม่ได้ให้ภาพที่ครบถัวนเท่าไหร่

ยิ่งปัจจุบันที่ความรู้ หรือทักษะที่เรียนมา อาจไม่สำคัญมาก เพราะสุดท้ายคุณก็ต้องเรียนรู้เพิ่มเติมอยู่ดี แล้วอะไรคือสิ่งที่ควรให้ความสำคัญในการคัดเลือกคนเข้าร่วมทีม

คุณ Patrick Lencioni ผู้ก่อตั้ง The Table Group พูดใน podcast จากประสบการณ์ของเขาไว้อย่างน่าสนใจว่า มี 3 สิ่งที่เขามองหา และให้น้ำหนักมากกว่าตัว resume ของผู้สมัครด้วย คือ

1. Humble

Check-in: 3 คำถามก่อนเริ่ม workshop

ถ้าลองสังเกตดู ปกติเวลาเราไปเข้าอบรม หรือ workshop วิทยากรมักจะเปิดด้วยวัตถุประสงค์ กำหนดการ หรือหัวข้อที่จะสอน แล้วก็ลุยสอนเลยใช่มั้ยครับ?

จะว่าไปดูมีเหตุผล เป็นลำดับเหมือนที่ควรจะเป็นดีใช่มั้ยครับ?

แต่เพราะว่ามนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีอารมณ์ และความรู้สึก การจะให้เรียนรู้ หรือทำกิจกรรมเรื่องใหม่ๆ ทั้งวัน โดยไม่คำนึงถึงอารมณ์ ความรู้สึกของคนในห้องก่อนเริ่มจะทำให้ประสิทธิภาพการเรียนรู้ลดลง

ผมเพิ่งไป traning ของบริษัทมา แล้วเทคนิคที่คนสอนใช้ก่อนเริ่มการสอนแต่ละวันด้วยคำถามสั้นๆ 3 ข้อ ให้ทุกคนตอบนั้นมีประสิทธิภาพ และช่วยเพิ่มการเรียนรู้ได้มาก จึงเก็บเอามาแบ่งปันกันครับ

วิธีก็ง่ายๆ

ก่อนเริ่ม training หรือ workshop ให้ทุกคนตอบคำถาม 3 ข้อนี้สั้นๆ ไม่เกิน 1 นาที ให้ทุกคนในห้องฟัง ซึ่ง 3 คำถามนั้นคือ

How do you feel?

ออเจ้าว่ากระไร ข้าฟังไม่รู้ความ

4 เทคนิคสื่อสารให้หัวหน้ารู้ความในยุคบางกอก 4.0

 

แม่การะเกด ออเจ้าว่ากระไร ข้าฟังไม่รู้ความ

 

ระหว่างที่ผมดูท่านขุนหมื่นงงกับคำพูดไม่คุ้นหูของแม่การะเกดในละครบุพเพสันนิวาส ผมก็นึกถึงภาพในการทำงานที่หลายครั้งการสื่อสารของคนในทีม ก็ทำให้ผมรู้สึกงง ไม่เข้าใจในสิ่งที่น้องๆ ในทีมพยายามสื่อ ไม่ต่างจากท่านขุนหมื่น

ทั้งๆ ที่เข้าใจถึงความตั้งใจของน้องๆ แต่การสื่อสารที่ไม่มีประสิทธิภาพทำให้หงุดหงิด และเสียเวลาการทำงานทั้งสองฝ่าย

ผมมาทบทวนจากประสบการณ์การสื่อสารกับหัวหน้าที่มีประสิทธิภาพ และไม่มีประสิทธิภาพ บวกกับความคาดหวังของตัวเองในฐานะหัวหน้า สรุปออกมาเป็น 4 เทคนิคที่จะช่วยให้คุณสื่อสารกับหัวหน้า (หรือคนที่ทำงานด้วย) ได้ดีขึ้น

1. อธิบาย context กับ background ของประเด็นที่จะพูด

หลายคนพอมีโอกาสพูดกับหัวหน้า ก็รัวปัญหาใส่หัวหน้าประหนึ่งแร๊พ อโยธยา ซึ่งเราต้องอย่าลืมว่าหัวหน้าไม่ได้รับผิดชอบเรื่องของเราแค่คนเดียว และเขาไม่ได้อยู่หน้างาน ใช้เวลากับงานของเราเท่ากับตัวเรา เพราะฉะนั้นก่อนพูดถึงประเด็นที่ต้องการสื่อ ควรบอก context กับ background ของเรื่องนั้นซักนิด เพื่อให้หัวหน้าเข้าใจที่มาที่ไป สถานะปัจจุบันของเรื่องที่เราต้องการจะสื่อสาร ก่อนจะลงไปที่ตัวประเด็นที่อยากจะพูด

แต่ในกรณีที่หัวหน้าแม่นรายละเอียดของงาน หรือได้พูดคุยกันบ่อยๆ เราก็สามารถที่จะเจาะไปที่สิ่งที่ต้องการจะสื่อสารได้เลย ไม่ต้องเกริ่นให้มากความ

2. ไม่พูดข้ามประเด็นไปมา

รับมือคำถามเวลานำเสนออย่างมืออาชีพด้วยหลัก 3R

เคยมั้ยครับ เตรียม present มาเสียดิบดี มาตกม้าตายตอนโดนคำถามหลัง present เสร็จ

ไม่ว่าคุณจะนำเสนอในเวทีเล็กมีคนฟังไม่กี่คน หรือเวทีใหญ่มีคนฟังเป็นร้อย เป็นพัน การรับมือกับคำถามได้ดีจะช่วยให้การนำเสนอครั้งนั้นประสบความสำเร็จได้ยิ่งขึ้น

นอกเหนือจากการเตรียมทำการบ้าน ด้วยการเดาคำถามที่จะคนฟังอาจถาม แล้วหาคำตอบไว้ก่อน ผมมีเทคนิคซึ่งผมใช้ และได้ผลดีมาแนะนำ

เทคนิคนี้จำง่ายๆ ด้วยคำที่ขึ้นต้นด้วยตัว R 3 ตัว ซึ่งได้แก่

Repeat

Response

Review

ผมจะอธิบายว่าแต่ละตัวใช้อย่างไร

เริ่มจากตัวแรก Repeat

Save Change

ถ้าเปรียบชีวิตเป็นเหมือนการเขียนโปรแกรม

คำพูด หรือการกระทำแต่ละอย่างของคุณ คือการเขียน code หรือคำสั่งแต่ละบรรทัด

ผลของโปรแกรม คือผลลัพธ์ของการกระทำของคุณ

คำถามคือ.. ทุกวันก่อนนอนคุณอยาก save change โปรแกรม(ชีวิต)ของคุณมั้ย?

ถ้าไม่ เป็นเพราะอะไร?

ถ้าคิดแล้วไม่อยาก save change โปรแกรมวันนี้ของเราก็ไม่ต้องเสียใจ เพราะพรุ่งนี้คุณจะมีโอกาสได้เขียนใหม่

สิ่งที่ท้าทายคือ จะเขียน code อย่างไรให้เราอยาก save change ทุกวัน

#NerdMode