มืออาชีพและบันได 5 ขั้นของความสามารถ

คุณนิยาม มืออาชีพ ว่าอย่างไร?

ระหว่างที่ฟังคุณวิเชียร จึงวิโรจน์ กรรมการบริหารและ กรรมการผู้จัดการ (ร่วม) ของ CP ALL เล่าเรื่องการบริหารคนในองค์กร ท่านก็ถามผมขึ้นมา ซึ่งผมก็คิดซักพักแล้วตอบอย่างกระอ้อมกระแอ้มว่า มืออาชีพน่าจะเป็นคนที่มีความสามารถ รู้หน้าที่ และทำตามมาตรฐานที่องค์กรคาดหวังได้ดี ทำให้สิ่งที่ควรทำโดยไม่อิงกับความรู้สึกของตัวเอง ท่านฟังแล้วพูดขึ้นว่า ในมุมของท่าน

มืออาชีพ คือ บุคคลที่สมควรได้รับค่าจ้าง

คุณวิเชียรคงเห็นผมนั่งนิ่ง อ้าปากค้างเลยขยายความต่อว่า มืออาชีพคือคนที่มีความสามารถและทำงานได้ตามที่คาดหวังได้ 100% ถึงเป็นคนที่สมควรได้รับค่าจ้าง 100% ด้วย

ถ้ามองในมุมของนายจ้าง สามารถมองความความสามารถโดยดูจากผลลัพธ์ของงานได้ 5 ระดับเหมือนบันได 5 ขั้น ในแผนภาพนี้

[Mentor แบบชัชๆ] ทักษะที่สำคัญที่สุดของพนักงานในปัจจุบัน

Mentor Profile: President, Leading Retails in Thailand

Me: หลังจากวิกฤติโควิด-19 พี่ว่าทักษะอะไรที่สำคัญที่สุดที่มองหาในองค์กร

Mentor: ตอนแรกผมนึกถึง Hard skills กับ Soft skills หลายๆ ตัว แต่คิดอีกทีผมว่า การพัฒนาตัวเอง (self development) อย่างสม่ำเสมอเป็นทักษะที่สำคัญที่สุด ที่ผมอยากให้พนักงานมี

Me: ช่วยขยายความหน่อยครับ

Mentor: โลกปัจจุบันเปลี่ยนไปเร็วขนาดนี้ ถ้าไม่ปรับตัวเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ไม่ต้องนับ เพราะอยู่ไม่ได้อยู่แล้ว ต่อให้ยอมปรับตัว แต่รอให้องค์กรป้อนก็อาจไม่ทันแล้ว ต้องมี drive ที่จะพัฒนาตัวเองอยู่ตลอด

Me: ในฐานะผู้นำองค์กร อะไรที่ทำให้พี่พัฒนาตัวเองไม่หยุดเหรอครับ

[Mentor แบบชัชๆ] วิธีเปลี่ยนคนที่ไม่ยอมเปลี่ยน

I don't want to listen anymore

[Mentor Profile] Strategic Change Program Manager, Global Container Shipping Company

Me: คุณ lead change program มาหลายเป็นสิบปีจนเชี่ยวชาญ คงมีประสบการณ์เจอคนที่ไม่ยอมเปลี่ยนบ้างใช่มั้ยครับ?

Mentor: มีแน่นอนอยู่แล้ว

Me: ช่วยเล่าให้ฟังหน่อยครับ ว่าเป็นยังไงและจัดการคนกลุ่มนี้อย่างไร?

Mentor: เอาตัวอย่างจริงล่าสุดนี่เลย โครงการที่กำลังทำอยู่ มีพนักงานอาวุโสท่านหนึ่ง อายุน่าจะ 50 ขึ้น ตอนที่ roll out change program ในที่ประชุม ก็ดู commit ดีไม่มีคำถาม หลังจากเริ่ม project ไป 2-3 เดือน เริ่มได้ยินคนมาบอกว่า นอกจากไม่ยอมเปลี่ยนแปลงกับระบบใหม่ตามที่ตกลงแล้ว เธอยังโวยวาย หาข้อผิดระบบใหม่แทบทุกวัน นั่นก็ไม่ดี นี่ก็ไม่ work ทำให้กำลังใจของทีมที่ตั้งใจเริ่มตก

Me: แล้วคุณทำยังไงต่อครับ

งาน 4 ประเภท และวิธีจัดการก่อนงานท่วมหัว

งานเยอะจนไม่รู้จะเริ่มตรงไหนก่อนเลยพี่!

รุ่นน้องคนหนึ่งตอบผมมาหลังจากที่ผมทักไปเพราะสังเกตว่าช่วงหลัง ๆ บ่นเครียดเรื่องงาน พักผ่อนน้อยตลอด
ผมเลยถามว่าที่ว่างานเยอะคืองานอะไรเยอะ? ก็ตอบไม่ถูก ได้แต่บอกว่างานมันเยอะมาก งานเข้าตลอด ทำเท่าไหร่ก็ไม่ทัน ก่อนจะขอตัวไปปั่นงานต่อ

เหตุการณ์แบบนี้คุ้น ๆ มั้ยครับ?

จะว่าไปผมก็เคยอยู่ในสภาพแบบนี้มาก่อน วิ่งเป็นหนูติดจั่นจนเหนื่อย ก่อนที่มาเข้าใจว่า ถ้าคุณไม่สามารถแบ่งและเข้าใจธรรมชาติของงานแต่ละประเภทได้ ก็ยากที่จะหลุดจากวงจรนี้ เพราะคุณมองไม่ออก ทำให้แก้ปัญหาไม่ถูกจุด
พูดถึงการแบ่งประเภทของงาน ผมชอบวิธีของ Mark McGuinness ในหนังสือ Productivity for Creative People โดยแบ่งงานไว้เป็น 4 ประเภท คือ

ยินดีที่ไม่รู้จัก: 3 เทคนิคสร้างสัมพันธ์กับคนแปลกหน้า

คุณเคยอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่มีคนที่เรารู้จัก แล้ว(ควร)ต้องทำความรู้จักกับคนแปลกหน้ามั้ย?

อาจจะเป็นวันแรกของการทำงานในบริษัทใหม่ เริ่มงานแผนกใหม่ หรือบริษัทส่งไปอบรมข้างนอกแล้วนั่งข้างคนที่มาจากบริษัทอื่น

ไปทานข้าวกับกลุ่มเพื่อนของแฟน หรือเป็นตัวแทนบริษัทไปงาน networking ทางธุรกิจเพื่อหาลูกค้าใหม่

สำหรับบางคน เรื่องแบบนี้อาจเป็นเรื่องธรรมชาติมาก ไม่เคยมีปัญหากับการทำความรู้จัก หรือสร้างสัมพันธ์กับคนใหม่ๆที่ไม่เคยรู้จักเห็นหน้ามาก่อน ซึ่งนับว่าโชคดีกว่าคนอื่นไม่ใช่น้อย

แต่ถ้าคุณไม่ใช่คนประเภทนั้นล่ะ?

คุณกลัว ไม่รู้จะเริ่มตรงไหน จะคุยเรื่องอะไร ทำตัวอย่างไรดีกับคนที่เพิ่งเจอครั้งแรก 

ในใจก็รู้ว่าการไม่คุย หรือทำความรู้จักกับคนใหม่อาจทำให้เสียโอกาสต่างๆในอนาคต อาจทำให้คนอื่นมองว่าเก็บตัว ไม่กล้าแสดงออก

สุดท้ายก็ได้แต่นั่งเงียบๆอยู่คนเดียวอยู่มุมห้อง หยิบมือถือขึ้นมาเล่นแก้เขินไป พร้อมกับภาวนาให้ช่วงเวลานี้ผ่านไปเร็วที่สุด

ถ้าคุณเป็นคนประเภทหลังที่ผมพูดถึง ไม่ต้องเสียใจ ผมมีหลัก 3 ข้อมาแนะนำในการสร้างสัมพันธ์กับคนแปลกหน้ามาฝาก ซึ่งทั้ง 3 ข้อนี้ผมทดลองใช้กับตัวเองแล้วได้ผลดีกว่าที่คิด และช่วยให้ผมไม่กลัวที่จะรู้จักและสร้างสัมพันธ์กับคนใหม่ๆ

1.) สนใจคนที่เราคุยด้วย