เห็นชื่อหัวข้ออย่าเพิ่งตกใจว่าอ่านบล็อกหรือวิทยานิพนธ์อยู่กันแน่? (แต่ถ้าจะเอาจริงๆก็เชื่อว่าเป็นหัวข้อThesisได้เลย)
และต้องออกตัวด้วยว่าโพสนี้ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับหนังของค่ายGTH ที่เพิ่งเข้าโรง… ^^”
เรื่องนี้เป็นหนึ่งในเรื่องที่น่าสนใจที่สุดที่ผมได้เรียนรู้ระหว่างที่ไปอบรมที่เซี่ยงไฮ้เมื่อเดือนที่แล้ว
ผมเชื่อว่าเรื่องการบริหารการเปลี่ยนแปลงในองค์กร
ต้องเจอกันทุกองค์กรไม่มากก็มากที่สุด :P
ทฤษฏีหนอนกระดึ๊บ (Inch Worm Theory) นี้ซึ่งคนสอนตั้งเองจากประสบการณ์ทำงานกว่า 20 ปีบอกว่าโดยทั่วไปคนในองค์กรจะแบ่งออกเป็น5กลุ่มและมีการกระจายตัวแบบปกติ (Normal Distribution)
เพื่อให้ง่ายในการอธิบาย ผมขอสมมติให้แกนXแทนตำแหน่งของมาตรฐานการทำงานของคน(ยิ่งขวายิ่งดี มาตรฐานสูง)
และแกนYแทนจำนวนคน
กลุ่มแรกคือคนในสีน้ำเงินทางขวาคือกลุ่มทีีบริษัทชอบมากเพราะมาตรฐานสูง เป็น role model ขององค์กร
กลุ่มต่อมาก็ค่อยๆไล่กันลงมาจากเขียวด้านขวา(เกาะกลุ่มผู้นำ) แดง(คนส่วนใหญ่) เขียวซ้าย(มั่นใจว่าฉันไม่แย่ตราบใดที่ยังมีกลุ่มน้ำเงินทางซ้ายอยู่) และน้ำเงินซ้ายที่ทุกคน(รวมถึงเจ้าตัว)ก็รู้ว่าตัวเองรั้งท้ายในองค์กร
สมมติว่าองค์กรต้องการจะยกมาตรฐานในการทำงานของพนักงานขึ้น (เขยิบไปทางขวา)
ถามว่าองค์กรจะตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลงอย่างไร?
ให้เวลาลองคิดดูซักหน่อย แล้วค่อยอ่านต่อ
…
ถามว่าทั้งองค์กรจะปรับตัวไปทางขวาพร้อมๆกัน และยังคงการกระจายตัวแบบปกติอยู่มั้ย?
คำตอบคือ ไม่
การเปลี่ยนแปลงขององค์กรจะเป็นลักษณะของหนอนกระดึ๊บ
ยังไง?