การบริหารความเปลี่ยนแปลงในองค์กรกับทฤษฏีหนอนกระดึ๊บ (Inch Worm Theory: How to manage organization change)

From all around / 4 December 2010 / 70

 

เห็นชื่อหัวข้ออย่าเพิ่งตกใจว่าอ่านบล็อกหรือวิทยานิพนธ์อยู่กันแน่? (แต่ถ้าจะเอาจริงๆก็เชื่อว่าเป็นหัวข้อThesisได้เลย)

และต้องออกตัวด้วยว่าโพสนี้ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับหนังของค่ายGTH ที่เพิ่งเข้าโรง… ^^”

เรื่องนี้เป็นหนึ่งในเรื่องที่น่าสนใจที่สุดที่ผมได้เรียนรู้ระหว่างที่ไปอบรมที่เซี่ยงไฮ้เมื่อเดือนที่แล้ว

ผมเชื่อว่าเรื่องการบริหารการเปลี่ยนแปลงในองค์กร

ต้องเจอกันทุกองค์กรไม่มากก็มากที่สุด :P

ทฤษฏีหนอนกระดึ๊บ (Inch Worm Theory) นี้ซึ่งคนสอนตั้งเองจากประสบการณ์ทำงานกว่า 20 ปีบอกว่าโดยทั่วไปคนในองค์กรจะแบ่งออกเป็น5กลุ่มและมีการกระจายตัวแบบปกติ (Normal Distribution)

เพื่อให้ง่ายในการอธิบาย ผมขอสมมติให้แกนXแทนตำแหน่งของมาตรฐานการทำงานของคน(ยิ่งขวายิ่งดี มาตรฐานสูง)

และแกนYแทนจำนวนคน

กลุ่มแรกคือคนในสีน้ำเงินทางขวาคือกลุ่มทีีบริษัทชอบมากเพราะมาตรฐานสูง เป็น role model ขององค์กร

กลุ่มต่อมาก็ค่อยๆไล่กันลงมาจากเขียวด้านขวา(เกาะกลุ่มผู้นำ) แดง(คนส่วนใหญ่) เขียวซ้าย(มั่นใจว่าฉันไม่แย่ตราบใดที่ยังมีกลุ่มน้ำเงินทางซ้ายอยู่) และน้ำเงินซ้ายที่ทุกคน(รวมถึงเจ้าตัว)ก็รู้ว่าตัวเองรั้งท้ายในองค์กร

สมมติว่าองค์กรต้องการจะยกมาตรฐานในการทำงานของพนักงานขึ้น (เขยิบไปทางขวา)

ถามว่าองค์กรจะตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ให้เวลาลองคิดดูซักหน่อย แล้วค่อยอ่านต่อ

ถามว่าทั้งองค์กรจะปรับตัวไปทางขวาพร้อมๆกัน และยังคงการกระจายตัวแบบปกติอยู่มั้ย?

คำตอบคือ ไม่

การเปลี่ยนแปลงขององค์กรจะเป็นลักษณะของหนอนกระดึ๊บ

ยังไง?

ลองนึกภาพตามดู

กลุ่มแรก(น้ำเงินขวา)ไม่ยาก เป็นกลุ่มแรกที่จะเปลี่ยน คนกลุ่มนี้พร้อมจะพัฒนาตนเอง และเติบโตไปกับบริษัทเสมอ น่าเสียดายที่คนกลุ่มนี้มีไม่เยอะเท่าไหร่

กลุ่มที่สอง (เขียวขวา) ก็ไม่ค่อยยาก เพราะกลุ่มนี้จะเกาะและตามกลุ่มผู้นำ แม้จะช้าบ้าง

กลุ่มที่สาม (แดง) จะยังไม่ปรับในทันที แต่จะมองก่อนว่า ผู้ใหญ่เอาจริงกับการเปลี่ยนแปลงนี้รึป่าว คนส่วนใหญ่ยอมรับและปรับตัวหรือไม่ ถ้าใช่ ก็จะค่อยๆปรับตาม

กลุ่มสุดท้าย (น้ำเงินซ้าย) อย่างที่คาด ฝันไปเถอะถ้าจะให้ปรับ ส่วนใหญ่จะอยู่กับองค์กรไม่ได้ถ้าองค์กรมีการเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว

หัวใจของการบริหารการเปลี่นแปลงอยู่อยู่ที่กลุ่มที่สี่ (เขียวซ้าย)

ทำไม?

ให้ลองคิดดูอีกที

เพราะคนกลุ่มนี้เชื่อว่าัยังไงตัวเองก็ดีกว่ากลุ่มรั้งท้ายขององค์กร(น้ำเงินซ้าย) ตราบใดที่มั่นใจว่ามีคนที่ยังอยู่เหนือกลุ่มสุดท้าย ก็จะไม่ยอมปรับ หรือรับความเปลี่ยนแปลง ในขณะเดียวกัน กลุ่มอื่นโดยเฉพาะกลุ่มคนส่วนใหญ่ในองค์กร(แดง)รู้สึกว่าคนกลุ่มนี้ไม่ต่างกับตัวเอง

ถ้าผู้บริหารสามารถทำให้องค์กรเห็นผ่านกลุ่ม(เขียวซ้าย)ว่า ไม่โอเคกับการไม่ปรับตัว หรือปรับ จะเป็นการกระตุ้นทุกองค์กรโดยเฉพาะคนส่วนใหญ่(แดง)ว่า คนนั้นซึ่งก็มีมาตรฐานไม่ต่างกับเรายังโดน เราคงต้องรีบทำอะไรแล้ว…

แน่นอนว่าทุกการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารต้องส่งสัญญาณตรงกัน อย่าให้คนในองค์กร โดยเฉพาะกลุ่มแรกรู้สึกว่า จะเปลี่ยนไปทำไม ในเมื่อเปลี่ยนหรือไม่ก็ไม่ต่างกัน

เพราะเรื่องของคนสนุก(และท้าทาย)อย่างนี้

ผมถึงมีความสุขกับงานที่ทำจริง… ^__^

ป.ล. ชื่อ “ทฤษฏีหนอนกระดึ๊บ” (Inch Worm Theory) เป็นคำแปลของผมเอง
________________________________________________________________________________

ถ้าชอบบทความนี้ คุณอาจจะสนใจ Monday’s Spark with Chutchapol.com ซึ่งผมคัดไอเดียเจ๋งๆ คำถามสั้นๆ ที่จะช่วยกระตุ้นพลังในการทำงานทุกเช้าวันจันทร์

Click Here to Subscribe