4 ปัจจัยที่ต้องพิจารณาในการทำ Talent Analytics

ในยุคปัจจุบันที่ HR เริ่มตื่นตัวก้าวข้ามงานแบบ admin เปลี่ยนมาเป็น business partner กับธุรกิจ เราจะเริ่มเห็นการใช้ตัวเลข หรือข้อมูล ตัววัดต่างๆ เข้ามาช่วยงาน HR เพื่อวิเคราะห์ วางแผน และตัดสินใจมากขึ้น

Talent Analytics ก็เป็นส่วนหนึ่งของการใช้ข้อมูลด้านต่างๆ มาวิเคราะห์เพื่อประเมินหา Talent ขององค์กรสำหรับการเลื่อนขั้น และพัฒนาเพื่อเป็นกำลังสำคัญของบริษัทต่อไป

ตัวอย่างของข้อมูลที่ใช้ในการพิจารณา เช่น ประวัติผลการประเมินผลงาน ประวัติการหมุนเวียนงาน ข้อมูลยอดขาย ผลจาก 360 feedback คะแนนทดสอบต่างๆ เป็นต้น ซึ่งแน่นอนว่าข้อมูลยิ่งมากยิ่งดีสำหรับประกอบการตัดสินใจ

แต่ถ้าเราดูแค่ข้อมูลอย่างเดียว เราก็มีโอกาสที่จะประเมิน Talent พลาดไปได้ สิ่งที่ HR ควรจะระวัง และพิจารณาในการทำ Talent Analytics ซึ่งผมอ้างอิงจากหลักสูตร People Analytics ของ Wharton มีอยู่ 4 ปัจจัย คือ

1. Context

เวลาที่เรามองหาว่าคนไหนเก่ง เป็น Talent ขององค์กร ปัจจัยแรกที่ต้องพิจารณาควบคู่กับผลงาน คือ context หรือบริบทงานของคนนั้น เช่น บางคนเก่งแต่ทีมไม่ดี หรือตลาดอยู่ในช่วงขาลง ทำให้ผลงานไม่ดี หรือบางคนผลงานดีเพราะลูกน้องเก่ง หรืออยู่หน่วยงานที่ไม่ค่อยมีปัญหา เป็นต้น เพื่อที่จะเข้าใจว่า performance ที่ดี หรือไม่ดีนั้นมาจากปัจจัยภายนอกมากน้อยแค่ไหน

ดังนั้น ถ้าต้องการจะเปรียบเทียบข้อมูลระหว่าง Talent องค์กรควรหาวิธีที่จะทำให้เทียบกันแบบ apple to apple ให้ได้มากที่สุด (เพิ่มเติม…)

เรื่องการศึกษาเป็นหัวข้อที่ตัวผมเองให้ความสำคัญมาก เมื่อพี่กระทิงจัดงาน Education Disruption Conference 2018 จึงไม่อยากพลาดโอกาสที่จะเปิดมุมมองตัวเองด้วย ยิ่งได้เห็น agenda ที่น่าสนใจทั้งวัน แต่ด้วยความรับผิดชอบ ทำให้มาร่วมงานได้ช่วงหลังเบรคตอนบ่าย แต่กระนั้นก็ยังได้ความรู้ และมุมมองใหม่ๆ กลับไปไม่น้อยจากงาน

ผมสรุป takeaway มาฝากเผื่อเป็นประโยชน์กับคนที่ไม่มีโอกาสได้ไปร่วมงาน โดยเขียนเป็นข้อๆ จากสิ่งที่ผมฟังบวกการตีความส่วนตัวในแต่ละช่วงที่ผมฟัง ถ้าจะเข้าใจผิดจากคนพูดอย่างไร ก็ให้เป็นที่การตีความผิดของผมเองนะครับ

Disrupting and Driving Efficiency in School Operation by  Mr. Wicharn Manawanitjarern, CEO of Taamkru

  • งานหลายๆ อย่างของคุณครูเช่น การตรวจข้อสอบ หรือการเช็คชื่อนักเรียน เป็นงานที่ซ้ำซ้อน กินเวลามาก แถมยังไม่มีประสิทธิภาพจาก human error อีกด้วย
  • การใช้ technology เข้ามาช่วยสามารถ free up เวลาของคุณครูได้อย่างมีนัยยะสำคัญ และลดความซ้ำซ้อน และความผิดพลาดของงานได้ดีมาก

Technology for All: Bridging Technology Skill Gaps in the Age of Digital Disruption by Mr. Viroj “Ta” Chiraphadhanakul, Founder of Skooldio

  • Lifelong Learning เป็นสิ่งที่สำคัญในยุค Digital Disruption เพราะทักษะใหม่ๆ เกิดขึ้นเร็วกว่าที่จะรอหลักสูตร รอตำรา แล้วเรียนในห้องเรียน
  • ในแต่ละช่วงชีวิต การเรียนรู้ก็แตกต่างกัน
    • Freshman + SophomoresCareer Awareness เริ่มทำความรู้จักว่าอาชีพต่างๆ มีอะไรบ้าง
    • Juniors + SeniorsCareer Ready เตรียมความพร้อมด้านทักษะสำหรับการทำงาน
    • New HiresOn boarding เข้าใจทักษะ และวัฒนธรรมที่เฉพาะของแต่ละองค์กรที่ทำงานด้วย
    • StaffReskill เรียนรู้ทักษะใหม่ที่จำเป็นกับการทำงาน
    • ExecutivesEnvision วางแผนสำหรับทักษะใหม่ที่จำเป็นในอนาคต
  • นายจ้างในปัจจุบัน และอนาคตต้องการคนที่มีความรู้ และทักษะที่ตรงกับลักษณะงาน ทำให้เราจะเริ่มเห็นบางองค์กรขนาดใหญ่ออกแบบหลักสูตร โดยร่วมมือกับภาคเอกชน เพื่อพัฒนาคนที่มีทักษะตรงความความต้องการ โดยไม่เน้นว่าต้องเรียนจบด้านไหน หรือที่ไหนมา
  • หาจุดร่วมระหว่างคนที่มีความพร้อมทั้งทักษะและการเรียนรู้  เทคโนโลยีที่จะช่วยสนับสนุน และธุรกิจที่อยู่ได้อย่างยั่งยืน

(เพิ่มเติม…)