Roundtable Lunch: Solving the Talent Crisis (part 2/2)

Panel Discussion: Insights into Action

panel

หลังจากที่ Mr. Mark Allin แบ่งปัน Insights from the Global Workforce ในช่วงแรก ก็เป็นช่วงของ Panel โดยตัวแทนจากภาครัฐ ภาคการศึกษา และภาคธุรกิจ ประกอบด้วย

Panellist

Mr. Ng Cher Pong, Chief Executive, Singapore Workforce Development Agency (WDA)

Mr. Mark Allin, President and CEO, Wiley

Ms. Tricia Duran, HR Director, Unilever Asia

Dr. Winter Nie, Professor of Operations and Service management, IMD

Ms. Wong Su-Yen, CEO, Human Capital Leadership Institute – ผู้ดำเนินรายการ

ประเด็นที่น่าสนใจ

  • แนวโน้มความเปลี่ยนแปลงของความต้องการในภาคธุรกิจ
    • ภาคธุรกิจให้ความสำคัญของการศึกษาระดับอุดมศึกษา หรือใบปริญญาน้อยลง และเพิ่มความสำคัญเรื่อง Competency มากขึ้น
    • จาก technical skills สู่ soft skills เพราะ technical skills หลายอย่างหุ่นยนต์เริ่มทดแทนได้
    • การเรียนรู้แบบอัดแน่นก่อนทำงาน (front-load) มาเป็นการศึกษาแบบต่อเนื่อง จากสถาบันการศึกษา ต่อมายังที่ทำงาน
    • เทคโนโลยีเป็นหนึ่งในปัจจัยหลักที่ช่วยให้การเปลี่ยนแปลงนี้เป็นไปได้
  • ภาครัฐของสิงคโปร์พยายามผลักดัน SkillsFuture เพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับการทำงานในอนาคตให้กับคนสิงคโปร์

Roundtable Lunch: Solving the Talent Crisis (part 1/2)

Insights from the Global Workforce

UL room

ปัญหาการขาดบุคคลากรเก่ง ๆ  (Talents) ไม่ได้เป็นเพียงปัญหาระดับองค์กร แต่เป็นวิกฤตระดับโลก ซึ่งเกี่ยวข้องกับหลายภาคส่วน

เมื่อวันจันทร์ (18 ก.ค.) ผมได้รับเชิญไปร่วมงาน Roundtable Lunch: Reimagining Education to Employment Pathways: Insights from Global Workforce and Implications for Students, Institutions of Higher Learning, Employers and Government ซึ่งจัดโดย Wiley ร่วมกับ Unilever ซึ่งประเด็นหลักที่คุยกันคือเรื่อง Solving the Talent Crisis

ในงานแบ่งเป็น 2 ส่วนหลัก ๆ คือ

  1. Global Workforce Insights ซึ่งนำเสนอโดย Mr. Mark Allin, President and CEO, Wiley ซึ่งบินมาจากอเมริกาเพื่องานนี้
  2. Panel Discussion: Insights into Action ซึ่งมีตัวแทนจากทั้งภาครัฐ ภาคการศึกษา และภาคธุรกิจ

ซึ่งผมจะแบ่งสรุปเนื้อหาที่น่าสนใจเป็น 2 ตอน เพื่อไม่ให้ยาวเกินไป

Thai Career Day

newed_1

เพราะการแข่งขันแย่งตัวคนเก่งไม่สามารถนั่งกระดิกเท้ารอให้เด็กๆมาสมัคร และเลือกเหมือนเมื่อก่อน

เพราะทางเลือกของเด็กสมัยนี้มีมากมาย ไม่จำกัดเพียงบริษัทในประเทศ หรือแค่บริษัทยักษ์ใหญ่

เราคงจะได้เห็นบริษัทไทยเริ่มขยับตัวเข้าเด็กตั้งแต่ก่อนเรียนจบ เพื่อแนะนำบริษัทมากขึ้น เพื่อหาช้างเผือกไม่เพียงในประเทศ แต่ต่างประเทศโดยเฉพาะใน ASEAN ที่เป็นเป้าหมายระยะสั้นของบริษัทไทยที่ต้องการขยายความเป็นที่หนึ่งในระดับภูมิภาค

แน่นอนว่าเป้าหมายของบริษัทไทย คือคนเก่งและเหมาะสมกับวัฒนธรรมบริษัท ซึ่งไม่จำกัดเฉพาะเด็กนักเรียนไทยในต่างแดนเท่านั้น

โจทย์ของบริษัทไทย และฝ่ายบุคคล คือจะทำยังไงให้บริษัทที่ใครๆในไทยก็รู้จัก และอยากทำงานด้วย ดูน่าสนใจ และดึงดูดกับเด็กต่างชาติที่ไม่รู้จักบริษัทของคุณเลย

ถ้าไม่ติดงานด่วนอะไร ผมว่าจะแวะไปดูงานนี้ แล้วจะกลับมาเล่าบรรยากาศ และความพร้อมของบริษัทไทยในสายตานักเรียนต่างชาติให้ฟังนะครับ

 

ป.ล. งานนี้จัดโดย สมาคมนักเรียนไทยในสิงคโปร์ (รายละเอียด)

 

ดูงาน Social Enterprise ในสิงคโปร์

credit: Comcrop Facebook Page

credit: Facebook Page

 

ว่ากันว่า คนที่ทำธุรกิจธรรมดาว่ายากแล้ว ทำธุรกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise) ยิ่งยากใหญ่

เมื่อวานผมมีโอกาสได้ไปร่วมงาน Singapore Insights: Social Innovation and Enterprise จัดโดย Singapore International Foundation

ทำให้มีโอกาสได้ทั้งฟังเปิดโลกทัศน์ตัวเอง กับคนที่มีความมุ่งมั่นและตั้งใจจะเปลี่ยนแปลงสังคมในขอบเขตที่ทำได้

ได้ฟังตัวอย่างของ Social Enterprise อย่าง Yellow Ribbon Project กับ Joan Bowen Cafe 

แล้วนั่งรถไปดูงาน organic farm ของบริษัท Comcrop ต่อที่ตึก *Scape แถว Orchard

ปิดท้ายด้วยการไปร่วมงาน Young Social Entrepreneurs (YSE) programme reception ซึ่งมีการประกาศผล 10 ทีมที่ชนะและได้ไปต่อจาก 37 ทีม

ถือว่าเป็นวันที่ได้สนุกกับการเรียนรู้ และรู้จักคนที่น่าสนใจไปพร้อมกัน