[Mentor แบบชัชๆ] เทคนิคหาเวลาให้ตัวเองสำหรับคนไม่มีเวลา

Mentor Profile: APAC Lead, Global Consulting Firm

Me: ตั้งแต่ Work From Home ช่วงโควิด ผมรู้สึกว่าตารางเต็มไปด้วย meeting back to back ไม่มีเวลาพักสั้นๆ เหมือนเมื่อก่อนที่มีเวลาเดินทางไปหาลูกค้า หรืออย่างน้อยก็เดินเปลี่ยนห้องประชุม

Mentor: ผมก็เป็นอย่างนั้นเหมือนกันครับ

Me: พี่มีเทคนิคอะไรแนะนำมั้ยครับ ผมว่าตัวเองไม่สามารถทำงานแบบนี้ได้ยาวๆ อย่างมีประสิทธิภาพ

Mentor: อย่างแรกที่ผมทำคือการ block เวลาให้ตัวเอง ทั้งเพื่อสุขภาพกาย สุขภาพใจ และเวลาสำหรับ deep work

Me: พี่ช่วยขยายความหน่อยครับ

สกัดบทเรียนฝ่าวิกฤตกับ Food Passion

ในยุควิกฤตโควิด 19 ที่ยืดเยื้อมาปีกว่าแล้วยังไม่เห็นแสงที่ปลายอุโมงค์ ทุกภาคธุรกิจล้วนได้รับผลกระทบ ทุกบริษัทต่างต้องปรับตัวกันจนเหนื่อยไม่มาก ก็มากที่สุด

ทาง Kincentric ได้รับเกียรติจากคุณนาฑีรัตน์ บุญรัตน์ ผู้ช่วยประธานเจ้าหน้าที่บริหารอาวุโส ฝ่ายทรัพยากรบุคคล บริษัท ฟู้ดแพชชั่น จำกัด มาแบ่งปันประสบการณ์วิธีคิด วิธีบริหารในช่วงวิกฤตนี้ ซึ่งสร้างพลังบวกให้ผมและทีมเป็นอย่างมาก จึงขอสกัดประโยคเด็ดๆ เป็นบทเรียนที่ผมได้จากคุณแตนมาฝาก

งานยาก ถ้าคิดว่ามันยาก มันจะยาก

ประโยคนี้ไม่ใช่คำคมของนักเรียนโอลิมปิก แต่เป็นเรื่องของมุมมองของแต่ละคนต่อปัญหาจริงๆ ถ้าเราคิดว่างานมันยาก ก็จะปิดตัวเองในการหาวิธีแก้ปัญหาใหม่ๆ ถ้ามองเป็นความท้าทายก็จะสนุกกับการหาวิธีทำงานให้สำเร็จ หรือง่ายขึ้น

สู้โว้ย!

1 วิธีเพิ่มความสุขของตัวเอง (และผู้อื่น) ในช่วง Work From Home

หลังจากได้กลับมา Work From Home รอบที่ 2 ได้ซักพัก สิ่งหนึ่งที่ผมเห็นความแตกต่างคือ ตอน Work From Home รอบแรก บริษัทส่วนใหญ่จะมองหาวิธีที่จะรักษา หรือเพิ่ม productivity ของพนักงาน ในยามที่เราอยู่ไกล ไม่เห็นหน้าในออฟฟิศกันเหมือนเคย

จึงไม่แปลกที่จะตารางการประชุมออนไลน์ เพิ่มขึ้นจนแทบทุกคนบ่นว่า แม้จะประหยัดเวลาเดินทาง แต่ทำงานหนัก และนานกว่าเดิมมาก

พอได้กลับมา Work From Home รอบที่ 2 ซึ่งเริ่มทำใจว่าคงจะไม่ได้เห็นหน้าหัวหน้า และทีมงาน รวมไปถึงลูกค้าอีกพักใหญ่ สิ่งหนึ่งที่รู้สึกขาดไป คือการได้ chit chat หรือคุยเล่นกับเพื่อนร่วมงาน

ทุกการประชุมออนไลน์ คือ เรื่องงานที่มี วาระ และหัวข้อที่จะคุย หรือนำเสนอชัดเจน พอประชุมเสร็จก็วางสายแยกย้ายไป ประชุมต่อไป

โอกาสที่จะได้รับ feedback หรือ คำชม จากเพื่อนร่วมงานตอนเก็บเอกสารหลังประชุมเสร็จเหมือนเมื่อก่อนก็หายไป

ทำให้ความรู้สึกว่าตัวเองมีค่า และได้รับการยอมรับ (recognized) จากงานที่ทำลดลง ซึ่งส่งผลโดยตรงกับความสุขในการทำงาน

เพราะฉะนั้น ถ้าให้แนะนำว่าช่วง Work From Home ควรทำอะไรเพิ่ม ผมแนะนำให้คุณ

การวางกลยุทธ์ในโลกยุค VUCA กับคนขับบอลลูน

สัปดาห์ก่อนผมได้ไปร่วมงาน Strategy Essential Summit 2020 ซึ่งจัดโดยอ.ธนัย ชรินทร์สาร ซึ่งในบรรดาข้อมูล เทรนด์ และเรื่องราวต่างๆ ที่มีประโยชน์อัดแน่นทั้งวันจากทั้งอ.ธนัย และแขกรับเชิญในวันนั้น เรื่องที่ผมชอบ และจำได้ดีที่สุดคือเรื่อง คนขับบอลลูน

อ.ธนัยเล่าว่านักกลยุทธ์ส่วนใหญ่มักทำตัวเหมือน นักบิน ขับเครื่องบินจากจุดเริ่มต้น ไปถึงจุดหมายที่แน่นอน ระหว่างทางอาจมีลมพายุบ้าง นักบินก็ขับหลบหลีก พาเครื่องบินไปสู่จุดหมายปลายทางได้

เปรียบได้กับนักกลยุทธ์ที่รู้ว่าสภาพปัจจุบันขององค์กรเป็นอย่างไร (As-Is) และเป้าหมายขององค์กรที่จะไปคืออะไร (To-Be) นักกลยุทธ์ก็วางแผนเพื่อพาองค์กรไปถึงจุดนั้น

การเป็นนักกลยุทธ์แบบนักบินก็ไม่มีอะไรผิดปกติถ้า สถานการณ์ต่างๆ ในโลกค่อนข้างเสถียร และคาดเดาได้เหมือน 40-50 ปีที่ผ่านมา

4 ประสบการณ์เพิ่ม Employee eXperience

ในวงการ HR ช่วงปีนี้ คำว่า Employee eXperience หรือการสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับพนักงาน เป็นหัวข้อที่มาแรงมากๆ หลายคนยังอาจไม่แน่ใจว่าคืออะไร และควรเริ่มพัฒนาตรงไหน อย่างไรดี

ถ้าพูดถึง Employee eXperience เราจะไม่ได้มองแค่ช่วงเวลาที่เป็นพนักงานแล้วเท่านั้น แต่จะรวมถึงประสบการณ์ทุกอย่างของพนักงานตั้งแต่ช่วงที่ได้รู้จักองค์กรครั้งแรก ไปถึงหลังจากที่พนักงานออกจากองค์กรไปแล้ว

ถามว่าถ้านิยามของ Employee eXperience ครอบคลุมกว้างขนาดนี้ องค์กรหรือทีม HR ควรจะเริ่มอย่างไร