การฟัง 3 แบบ

ถ้าถามว่าทักษะอะไรที่สำคัญในการทำงาน และมาแรงอย่างต่อเนื่อง ต้องบอกว่าทักษะเรื่องการสื่อสาร หรือ communication skill จะอยู่ใน Top 5 เสมอ

และเมื่อพูดถึงการพัฒนาทักษะการสื่อสาร คนส่วนใหญ่มักนึกถึงการ ‘สื่อ’ สาร ด้วยการพูด การนำเสนอ หรือการเขียน โดยมองข้ามเรื่องที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันคือเรื่อง…

การฟัง

หลายคนอาจสงสัยว่า การฟัง มีอะไรให้ฝึกด้วยหรือ? สิ่งแรกที่ต้องเข้าใจก่อนว่า การได้ยิน กับการฟัง ไม่เหมือนกัน ไม่ว่าเราจะรู้ตัวหรือไม่ แต่การฟังจะมีวัตถุประสงค์อยู่

โค้ชผมเคยเล่าให้ฟังว่าการฟังมีอยู่ 3 แบบ ซึ่งจะส่งผลต่อวิธีการตอบสนอง และผลลัพธ์ที่จะเกิด โดยการฟังแต่ละแบบนี้จะใช้ในโอกาสที่ต่างกัน

1. ฟังเพื่อเอาชนะ (listen to win)

การฟังแบบแรก จะเป็นการฟังหาจุดอ่อนของประโยคอีกฝ่าย อาจเป็นรายละเอียดที่คลาดเคลื่อน ไม่ครอบคลุม และรอจังหวะที่ตอบกลับเพื่อชักจูงให้อีกฝ่ายเห็นว่าสิ่งที่เราคิดนั้นถูกต้อง การฟังจะเป็นการเลือกฟังบางประโยค โดยเฉพาะสิ่งที่ยืนยันความเชื่อ หรือธงในใจ

5 บทเรียนจากการสื่อสารลดพนักงานของ Airbnb

การสื่อสารข่าวร้ายไม่เคยเป็นเรื่องง่าย แต่เป็นเรื่องจำเป็น และสำคัญสำหรับองค์กร และผู้บริหาร ในฐานะผู้นำองค์กร

เช้าวันนี้ผมเห็นบันทึกข้อความของ Brian Chesky, Airbnb Co-Founder and CEO ที่เขียนถึงพนักงานทั่วโลก ซึ่งสื่อสารเรื่องการลดพนักงานเกือบ 1,900 คน หรือประมาณ 25% ของพนักงานทั้งหมด

เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องเล็กๆ สำหรับ startup ดาวรุ่งที่กำลังเตรียม IPO เข้าตลาดหลักทรัพย์เร็วๆ นี้ถ้าไม่เจอวิกฤต COVID-19 เสียก่อน

เมื่อผมอ่าน A Message from Co-Founder and CEO Brian Chesky จบผมรู้สึกประทับใจกับวิธีการสื่อสารของ Brian มากจนต้องขอถอดบทเรียนออกมา 5 ข้อ ดังนี้

1.การสื่อสารออกจากผู้บริหารสูงสุด

การสื่อสารเรื่องสำคัญๆ กับพนักงานเป็นหน้าที่ของ CEO หรือผู้บริหารสูงสุด ไม่ใช่ HR หรือฝ่ายสื่อสารองค์กร เพราะพนักงานจากฟังจากผู้นำของเขา เพราะฉะนั้นอย่าหลบอยู่หลังชื่อองค์กร หรือคณะผู้บริหาร

นี่เป็นเวลาและโอกาสที่คุณจะได้แสดงความเป็นผู้นำขององค์กร

2.บอกความจริงอย่างที่เป็น ไม่โกหก หรือพูดให้ดูดี

3 คำถาม เพื่อการสื่อสารที่ดีขึ้นกับหัวหน้า

การสื่อสารเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการทำงาน โดยเฉพาะกับหัวหน้า คนที่มีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรงกับความก้าวหน้าในอาชีพการงานของเรา

สำหรับคนที่ทำงานมาซักระยะ จะรู้ว่าการสื่อสารกับหัวหน้าให้มีประสิทธิภาพนั้น ไม่ใช่แค่ พอมีเรื่องอะไรก็เดินดุ่ยๆเข้าไปหา เหมือนเพื่อนร่วมงาน

บางคนเห็นหัวหน้าหน้ามุ่ยอยู่ตลอด ก็ยิ่งเกร็ง หาจังหวะเข้าไปคุยไม่ถูก

พอเข้าไปพบ ก็พูดจาวกวนไปมา จนอาจโดนไล่ตะเพิดออกมา ทำให้ยิ่งกลัวการคุยกับหัวหน้าเข้าไปใหญ่

แน่นอนว่าการแก้ปัญหา ไม่ใช่การหลีกเลี่ยง ไม่สื่อสารกับหัวหน้า เพราะสุดท้ายคนที่เสียจะเป็นเราเอง ที่จะไม่ได้งานตามที่ควรจะเป็น

ขอออกตัวก่อนว่า การเข้าหา และสื่อสารกับหัวหน้า เป็นคนละเรื่องกับการชะเลีย แต่ไม่ทำงานนะครับ ^^”

ผมมองว่าทางแก้ปัญหานี้คือ เราควรหาวิธีเรียบเรียงคำพูดของเราอย่างไร ให้การสื่อสารกับหัวหน้านั้นมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ผมมีคำถามง่ายๆ 3 คำถาม ซึ่งเป็นสิ่งที่อยู่ในใจของหัวหน้าซึ่งเวลาเป็นเงินเป็นทอง เพื่อเตรียมพร้อมก่อนเข้าไปคุย

1. อะไร?

อะไรคือใจความของข้อความที่ต้องการจะบอกหัวหน้า? มีรายละเอียดมากน้อยแค่ไหน? ต้องเป็นตอนนี้รึปล่าว? วิธีไหนที่จะเหมาะสมที่สุด? ส่งโน้ตบอก โทรศัพท์ หรือต้องคุยแบบเห็นหน้า เท่านั้น?

2. แล้วไง?

ทำไมหัวหน้าถึงต้องรู้เรื่องนี้? มันสำคัญกับเขายังไง?

3. แล้วยังไงต่อ?

แล้วต้องการให้หัวหน้าทำอะไรต่อหลังจากคุยกัน? บอกให้รู้เฉยๆ หรือว่าต้องการคำแนะนำ หรือความช่วยเหลือ

 

ถ้าเราใช้คำถามทั้ง 3 ข้อนี้ ช่วยในการเรียบเรียงคำพูด  ให้ตรงประเด็น และกระชับที่สุด ผมเชื่อว่าหัวหน้าจะต้องแปลกใจ กับวิธีการสื่อสารที่เปลี่ยนไป(ในทางที่ดีขึ้น) อย่างแน่นอนครับ

 

____________________________________________________________

ถ้าชอบบทความนี้ คุณอาจจะสนใจ Monday’s Spark with Chutchapol.com ซึ่งผมคัดไอเดียเจ๋งๆ คำถามสั้นๆ ที่จะช่วยกระตุ้นพลังในการทำงานทุกเช้าวันจันทร์

Click Here to Subscribe

Effective Communication Coaching Session by Paul Kiely

 

วันนี้ได้ฟัง Paul Kiely ซึ่งเป็น Director ที่ทำงานกับบริษัทมาแล้วกว่า 30 ปี พูดให้ผู้จัดการที่โรงงานฟัง

เรื่องการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ (Effective Communication) ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญมากสำหรับทุกคน โดยเฉพาะถ้าไม่อยากพูดแล้วพูดอีก หรือ พูดแล้วคนฟังเข้าใจผิดแล้วทำอีกอย่าง

แม้จะใช้เวลาเพียงชั่วโมงเดียว แต่ก็เป็นหนึ่งชั่วโมงที่ประทับใจมาก

ปกติเป็นคนที่ชอบสังเกตคนที่พูด หรือสื่อสารเก่งๆ ในฐานะที่เป็นคนสอนเรื่อง Effective Presentation อยู่แล้วด้วย

Paul เป็นคนหนึ่งที่สามารถใช้เป็นแบบอย่างที่ดีมากๆคนหนึ่ง

เค้าใช้เทคนิคต่างๆเกี่ยวกับการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพได้อย่างเป็นธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็น การสบตา การโต้ตอบกับคนฟัง การทำให้ทุกคนผ่อนคลาย ไม่เกร็ง การตอบคำถามที่ตรงประเด็น อารมณ์ขัน และอื่นๆอีกมากมาย

จริงๆวันนี้แค่สังเกต Paul พูดเฉยๆ โดยไม่ต้องสนใจเนื้อหาก็ถือว่าเกินคุ้มกับเวลา 1 ชั่วโมงแล้ว

ช่วงแรกคุยเรื่องอุปสรรคในการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งก็มีมากมาย เช่น ภาษา วัฒนธรรมที่ต่างกัน การเข้าใจว่าอีกฝ่ายเข้าใจ ฯลฯ

แล้วก็แนะนำเทคนิคบางข้อที่จะช่วยให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพมากขึ้น ได้แก่…

  1. Listen ฟัง ฟังให้รู้ว่าคนพูดจะสื่ออะไร เคยเจอมั้ยว่าคนพูดเตรียมข้อมูลมาอย่างดี ทุกอย่างดีหมด แต่ไม่มีคนฟัง ถ้าไม่แย่งเค้าพูด ก็ทำอย่างอื่น ใจลอยไปที่อื่น ง่ายๆอย่างนั้นเลย ถ้าไม่ฟังแล้วจะสื่อสารกันรู้เรื่องได้ยังไง
  2. Clear (not General) การสื่อสารที่ดีต้องชัดเจน และมีรายละเอียดอย่างเพียงพอ เช่น บอกว่าผมจะทำงานให้ดี กับ ผมจะทำ project xxx ภายใน x เดือน ซึ่งจะช่วยบริษัทประหยัดได้ xxx บาท อย่างไหนคนฟังจะเข้าใจมากกว่ากัน
  3. Transparency = Trust ถ้าเรารู้สึกว่าคนที่เราคุยด้วยปิดบังอะไรเราอยู่ เราคงจะไม่สามารถเปิดหรือวางใจกับคนนั้นได้เต็มที่ ฉันใดก็ฉันนั้น การที่เราโปร่งใส ไม่ปิดบังจะช่วยให้คู่สนทนาเชื่อใจ และสบายใจเวลาคุยกับเรา ซึ่งนำไปสู่การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพในที่สุด
  4. Passion = Engagement ถ้ารู้สึกไม่มั่นใจเวลาไปพูดกับคนมากๆ การพูดในเรื่องที่เราสนใจ และรู้จริงจะช่วยให้เรามั่นใจ และช่วยให้การพูดนั้นน่าสนใจ เพราะคนฟังจะรับรู้ได้ถึงพลังที่เราถ่ายทอดออกไป และจะช่วยคนฟังอยากติดตาม และมีส่วนร่วม
  5. Caring, Being polite, and Compassion are wonderful, not the end point น่าเสียดายที่หัวข้อนี้เวลาไม่พอเลยไม่ได้พูด เนื่องจากตอนหลังมีคำถามหลายข้อจนเวลาหมดก่อน :P

ฟังเสร็จแล้วมีพลังที่จะปรับปรุงตัวเองต่ออีกเยอะเลย… ^__^