การวางกลยุทธ์ในโลกยุค VUCA กับคนขับบอลลูน

สัปดาห์ก่อนผมได้ไปร่วมงาน Strategy Essential Summit 2020 ซึ่งจัดโดยอ.ธนัย ชรินทร์สาร ซึ่งในบรรดาข้อมูล เทรนด์ และเรื่องราวต่างๆ ที่มีประโยชน์อัดแน่นทั้งวันจากทั้งอ.ธนัย และแขกรับเชิญในวันนั้น เรื่องที่ผมชอบ และจำได้ดีที่สุดคือเรื่อง คนขับบอลลูน

อ.ธนัยเล่าว่านักกลยุทธ์ส่วนใหญ่มักทำตัวเหมือน นักบิน ขับเครื่องบินจากจุดเริ่มต้น ไปถึงจุดหมายที่แน่นอน ระหว่างทางอาจมีลมพายุบ้าง นักบินก็ขับหลบหลีก พาเครื่องบินไปสู่จุดหมายปลายทางได้

เปรียบได้กับนักกลยุทธ์ที่รู้ว่าสภาพปัจจุบันขององค์กรเป็นอย่างไร (As-Is) และเป้าหมายขององค์กรที่จะไปคืออะไร (To-Be) นักกลยุทธ์ก็วางแผนเพื่อพาองค์กรไปถึงจุดนั้น

การเป็นนักกลยุทธ์แบบนักบินก็ไม่มีอะไรผิดปกติถ้า สถานการณ์ต่างๆ ในโลกค่อนข้างเสถียร และคาดเดาได้เหมือน 40-50 ปีที่ผ่านมา

3 ปัจจัยลดความเสี่ยงภาวะหมดไฟในการทำงาน

ภาวะหมดไฟในการทำงาน หรือ Burnout Syndrome เป็นภาวะที่คนทำงานไม่อยากเจอ และมีความต่างจากความเครียดซึ่งเป็นเรื่องปกติของการทำงาน

ภาวะหมดไฟนี้มักเกิดจากความเครียดสะสม จนเกิดเป็นความล้าทางอารมณ์ รู้สึกเหมือนหนูติดจั่น ไม่มีไฟที่จะทำงานต่อ ซึ่งการนอนพักก็ไม่ช่วยให้ดีขึ้นเหมือนการเครียดหรือเหนื่อยจากงานทั่วไป

แล้วถ้าคุณรู้สึกว่าตัวเองเริ่มมีอาการหมดไฟควรทำอย่างไร?

นอกจากคำแนะนำที่ให้ระวัง หมั่นสังเกตตัวเองอย่าให้ความเครียดสะสมอยู่เป็นเวลานานจนกลายเป็นภาวะหมดไฟในการทำงาน หรือพยายามสร้างสมดุลระหว่างงาน กับชีวิต (work-life balance)

ผมได้ฟัง Adam Grant พูดถึงโมเดลหนึ่งใน podcast รู้สึกน่าสนใจ ผมเลยหาข้อมูลเพิ่มเติมฝาก

3 ปัจจัยที่จะช่วยลดโอกาสภาวะหมดไฟได้ คือ

Demand – Control – Support

5 บทเรียนจากการสื่อสารลดพนักงานของ Airbnb

การสื่อสารข่าวร้ายไม่เคยเป็นเรื่องง่าย แต่เป็นเรื่องจำเป็น และสำคัญสำหรับองค์กร และผู้บริหาร ในฐานะผู้นำองค์กร

เช้าวันนี้ผมเห็นบันทึกข้อความของ Brian Chesky, Airbnb Co-Founder and CEO ที่เขียนถึงพนักงานทั่วโลก ซึ่งสื่อสารเรื่องการลดพนักงานเกือบ 1,900 คน หรือประมาณ 25% ของพนักงานทั้งหมด

เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องเล็กๆ สำหรับ startup ดาวรุ่งที่กำลังเตรียม IPO เข้าตลาดหลักทรัพย์เร็วๆ นี้ถ้าไม่เจอวิกฤต COVID-19 เสียก่อน

เมื่อผมอ่าน A Message from Co-Founder and CEO Brian Chesky จบผมรู้สึกประทับใจกับวิธีการสื่อสารของ Brian มากจนต้องขอถอดบทเรียนออกมา 5 ข้อ ดังนี้

1.การสื่อสารออกจากผู้บริหารสูงสุด

การสื่อสารเรื่องสำคัญๆ กับพนักงานเป็นหน้าที่ของ CEO หรือผู้บริหารสูงสุด ไม่ใช่ HR หรือฝ่ายสื่อสารองค์กร เพราะพนักงานจากฟังจากผู้นำของเขา เพราะฉะนั้นอย่าหลบอยู่หลังชื่อองค์กร หรือคณะผู้บริหาร

นี่เป็นเวลาและโอกาสที่คุณจะได้แสดงความเป็นผู้นำขององค์กร

2.บอกความจริงอย่างที่เป็น ไม่โกหก หรือพูดให้ดูดี

(จะ)เอาความมั่นใจมาจากไหน?

เคยสังเกตมั้ยครับว่าคนที่มีความมั่นใจ มักจะได้เปรียบในสถานการณ์ต่างๆ มากกว่าคนที่ไม่มั่นใจ

ความมั่นใจนี้อาจแบ่งได้ทั้งความมั่นใจในตัวเอง ความมั่นใจในงาน หรือความมั่นใจในเรื่องต่างๆ เฉพาะด้าน

ถ้าถามคนที่มั่นใจว่าทำอย่างไร หลายคนอาจตอบว่าเพราะมีความรู้ความสามารถในเรื่องนั้นถึงมั่นใจ หรือมีประสบการณ์ถึงมั่นใจ

หลายคนคิดว่าปัญหาของคนที่ขาดความมั่นใจคือขาดประสบการณ์กับความสามารถ ซึ่งเหมือนจะเกิดขึ้นเฉพาะน้องๆ ที่เพิ่งเริ่มทำงานเท่านั้น

แต่ความจริง คือ ต่อให้ให้คุณประสบความสำเร็จ หรือมีประสบการณ์อย่างมากในเรื่องใด เรื่องหนึ่ง ถ้าคุณเริ่มทำสิ่งที่คุณไม่เคยทำ ไม่มีความรู้ คุณก็จะไม่มีความมั่นใจในเรื่องนั้น

ผมได้ฟังคุณ Dan Sullivan ซึ่งเป็น strategic coach ชื่อดังแนะนำวิธีการสร้างความมั่นใจ หรือ Confidence ด้วยแนวคิด The 4 C’s

1. Commitment

5 ประโยคเด็ดจาก Design Thinking Workshop

ในยุคที่การเข้าใจลูกค้า หรือผู้ใช้ (user) ช่วยให้การแก้ปัญหา หรือผลิตนวัตกรรมใหม่ๆ ได้ตรงกับความต้องการของลูกค้ามากขึ้น จึงไม่น่าแปลกใจที่ทักษะ Design Thinking ได้รับความนิยมมากในต่างประเทศ รวมถึงประเทศไทย

เมื่อผมมีโอกาสได้มาร่วมงาน Corporate Innovation Summit 2019 หนึ่งใน workshop ที่ผมตั้งใจมาเข้าคือ Intro to Design Thinking: Bootcamp of Executives ซึ่งสอนโดย คุณต้อง กวีวุฒิ เต็มภูวภัทร, Head of 10X project, SCB และเจ้าของเพจ 8 บรรทัดครึ่ง

ตลอดเกือบ 3 ชั่วโมงเต็มของ workshop ผมได้เรียนรู้ผ่านการแต่ละขั้นตอนตั้งแต่ Empathize ไปจนถึง Prototype และ Test ซึ่งไม่น่าเชื่อว่าคุณต้อง ย่นเนื้อหาจาก 2-3 วันมาอยู่ใน 3 ชั่วโมง และสามารถทำ Prototype และ Test จริงได้

นอกจากได้ประสบการณ์จาก workshop อีกสิ่งที่ได้คือ ประโยคเด็ดๆ ที่ทำให้ผม Aha! และเปลี่ยนมุมมองไป เลยรีบจด และนำมาแบ่งปันกัน 5 ประโยค ซึ่งคือ

1. Before solving problem, find the right problem to solve.

คนส่วนใหญ่เวลาเจอปัญหา เรามักจะมุ่งตรง และทุ่มเทในการแก้ปัญหานั้นโดยไม่ได้ดูว่าปัญหาที่เราแก้ เป็นปัญหาจริงๆ หรือแต่เปลือก ประเด็นที่เราเห็นได้ง่าย