[Mentor แบบชัชๆ] เทคนิคการพูดบนเวทีใหญ่

 

[Mentor Profile] Partner from Australia, Global HR Consulting

Me: เมื่อวานผมฟัง session ที่คุณพูดแล้วประทับใจมาก แม้จะเป็นเวทีใหญ่ที่คนฟัง 200 กว่าคน คุณก็เอาคนฟังอยู่ตลอด presentation ผมได้คุยกับลูกค้าหลายๆ คนหลังงานก็ฝากชมมาด้วย บอกว่าแม้จะบรรยายภาษาอังกฤษ แต่ก็ฟังรู้เรื่อง และเข้าใจง่าย ดูลื่นเหมือนเป็นนักพูดมืออาชีพมากๆ

Mentor: ขอบคุณสำหรับคำชม เรื่องพวกนี้ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ แต่เป็นทักษะที่ผมตั้งใจฝึก ผมมีโอกาสได้พูดกับคนฟังในประเทศต่างๆ ที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลัก ทำให้ผมยิ่งต้องระวังตัวเองมากขึ้น

Me: คุณต้องระวังเรื่องอะไรบ้างเหรอครับ?

Mentor: อย่างแรกเลยคือ ความเร็ว และ จังหวะในการพูด เพราะคนฟัง อาจไม่ถนัดภาษาอังกฤษ เหมือนภาษาแม่ของเขา ความเร็ว และจังหวะต้องช้าลงกว่าปกติ เพื่อให้คนฟังมีเวลาซึมซับ และย่อยประโยคที่ผมพูด คำที่ผมเลือกใช้จะเป็นคำที่เข้าใจง่ายๆ ในรูปประโยคที่กระชับ ตรงกับสิ่งที่ต้องการสื่อ

Me: เห็นด้วยครับ แม้จะเป็นภาษาเดียวกัน ถ้าคน present ไม่ได้ระวัง พูดเหมือนคุยกัน 2-3 คน โอกาสที่คนฟังจะตามไม่ทันก็มีสูง นอกจากเรื่องความเร็ว และจังหวะในการพูดแล้ว มีเรื่องไหนที่คุณระวังอีกบ้างครับ

วิธีง่ายๆที่จะอาา… ช่วยคุณอืมม… หยุดเออ… คำเหล่านี้

Image by © Randy Faris/CORBIS

เคยมั้ยฟังเพื่อนขึ้นไปพูดหน้าชั้นหรือบนเวทีแล้ว คำพูดเขาเต็มไปด้วย อ่า.. อืมม.. เออ.. ก็.. แบบว่า..

ซึ่งฝรั่งเรียกคำเหล่านี้ว่าเป็น filler words (ไม่แน่ใจว่าภาษาไทยบัญญัติคำนี้ว่าอะไร)

หลายคนขำแล้วคิดว่าตัวเองพูด แล้วไม่มีคำเหล่านี้ เหมือนคนที่เราดูเค้าพูด

แต่ถ้าลองให้อัดเสียง หรือถ่ายวีดีโอมา เจ้าตัวก็อึ้ง ไม่คิดว่าตัวเองจะมีอ่าา เออ ออกมาไม่น้อยไปกว่าเพื่อนเลย

ในฐานะที่เป็นคนสอนหลักสูตร Train the Trainer กับ Effective Presentation

ผมได้บอกเสมอว่า สิ่งหนึ่งที่จะบอกได้ถึงความเป็นมืออาชีพของคนพูด คือ ดูว่าคนพูดมีคำเหล่านี้ (อ่าา, อืมม, เออ)หลุดมาระหว่างพูดมากน้อยแค่ไหน

คำที่หลุดมาโดยไม่ตั้งใจเหล่านี้ จะบ่งบอกถึงความไม่มั่นใจ และลดความน่าเชื่อถือของผู้พูด โดยเฉพาะถ้าเป็นเรื่องสำคัญ

แต่ไม่ต้องตกใจ เพราะจากประสบการณ์ คนพูดมากกว่า 80% จะมีคำเหล่านี้อยู่มากบ้าง น้อยบ้าง

คุณไม่ใช่คนผิดปกติแต่อย่างใด (ไม่เชื่อลองสังเกตคนรอบๆตัวเองดูได้)

ข่าวดี คือ เราสามารถฝึก และพัฒนาได้!

และข้อดีของการพูดโดยไม่มีคำที่ไม่สื่อความหมาย คือ จะทำให้คำพูดของเรามีพลัง และชัดเจน กับผู้ฟังมากขึ้น

วันนี้ผมได้มีโอกาสดูเทคนิคง่ายที่คุณ Chris Westfall แนะนำใน YouTube แล้วรู้สึกว่าง่าย ทำได้จริงๆ และน่าเป็นประโยชน์กับคนอื่น เลยเอามาสรุปฝากกัน

วิธีการง่ายๆเริ่มจาก

  1. ใส่คำ filler words เข้าไปให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ พูดง่ายๆว่าจัดเต็ม ประชดเอาให้ มีอาา เอออ แทรกแทบทุกพยางค์ เพื่อให้เราขำและรู้ว่ามันไม่ควรมีคำที่ไม่ได้รับเชิญเหล่านี้อยู่ในประโยคที่เราจะพูด
  2. เลือกท่าทางไว้คอยเตือนตัวเองเวลาจะพูด filler words อาจจะเป็นเอามือแตะคาง ดึงหู แตะสูท เวลาที่กำลังจะหลุดอ่าา เอออ เพื่อเตือนตัวเองว่า ไ่ม่จำเป็นต้องพูด คำที่ไม่ต้องการเหล่านั้นออกไป
  3. มีภาพของเรื่องที่จะพูดในหัว แล้วเล่าภาพนั้นออกมา เพราะสาเหตุหลักของการที่เราใส่คำที่ไม่ต้องการเหล่านั้น เพราะเราพยายามนึกคำ หรือประโยคต่อไปอยู่และไม่อยากให้เงียบ วิธีแก้คือ คิดเป็นรูปภาพ แล้วเล่าแบบบรรยายภาพนั้นออกมา

สุดท้ายเทคนิคจะง่ายขนาดไหน ถ้าไม่ฝึกก็ไม่มีประโยชน์

โชคดีครับ…