คุณจะเลือกคนสำหรับ 70 ตำแหน่งจากคนสมัคร 33,000 คนยังไง?
นี่คือสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในบริษัท L’Oreal ประเทศจีน
ในตลาดที่แข่งขันกันสูงมากอย่างจีนที่มีบัณฑิตใหม่กว่า 7 ล้านคนทุกปีกำลังหางานอยู่ ถ้า HR มานั่งอ่าน CV ของทุกคน ก็คงปวดหัวไม่น้อย และไม่ได้รับรองว่าจะได้คนที่ดี และเหมาะสมที่สุดสำหรับบริษัท
สิ่งที่ HR บริษัทใหญ่ๆ ใช้เป็นตัวกรองอันดับแรกๆคือ มหาวิทยาลัยที่จบ ถ้าไม่ใช่อันดับต้นๆก็ตัดออกก่อน
ถามว่าเป็นการตัดโอกาสมั้ย?
ก็ต้องยอมรับว่าคนเก่งหลายคนที่หลุดจากตัวกรองนี้ และ CV ก็ไม่ใช่สิ่งที่สะท้อนความสามารถที่แท้จริงของผู้สมัคร
ผมดูข่าวจาก BBC พูดถึงบริษัท L’Oreal ในจีน เปลี่ยนวิธีการคัดคนใหม่
น่าสนใจเพราะแทนที่จะดูที่มหาวิทยาลัยที่จบ หรือ resume
บริษัทให้คนสมัครตอบคำถาม 3 ข้อ ใน smart phone
แล้วให้โปรแกรมที่วิเคราะห์บุคคลิกนิสัยจากภาษาที่ใช้ในการตอบ
_______________
ตัวอย่างคำถาม
“If you had one month and a 25,000RMB budget ($4,000; £2,570) to tackle any project your little heart desired, what would you do?”
(ถ้าคุณมีเวลา 1 เดือน และงบประมาณ 25,000 หยวน [ประมาณ 130,000 บาท] เพื่อทำ project อะไรก็ได้ คุณจะทำอะไร)
คำตอบของ Laurel Sun (คนที่ผ่านมารอบสัมภาษณ์)
I want to set up an online shop that sells desserts to college students. The shop provides a door-to-door delivery service, but students only need to order on WeChat. The details are as follows:
- 1. Carry out an online survey: investigate students’ favourite flavours and the prices they’re willing to pay (RMB1000/7 days).
- 2. Accordingly, make a budget plan to determine the products, purchase the equipment and the raw ingredients and make the desserts myself (RMB15000/7 days).
- 3. Set up the e-commerce shop and have a one-week promotion, providing free samples or giving rewards to those who press the ‘like’ button on WeChat (RMB8000/14 days).
- 4. Launch the shop.
_________________
บริษัทใช้ข้อมูลในการกรอง และเลือกผู้สมัครมาสัมภาษณ์อีกที
ส่วนตัวผมคิดว่า การใช้เทคโนโลยี ร่วมกับการวิเคราะห์ Big Data มาช่วยในการเลือกผู้สมัครที่มีจำนวนมากขนาดนี้เป็นสิ่งที่น่าสนใจมาก เพราะช่วยทั้งบริษัทประหยัดเวลาในการคัดกรองรอบแรก และผู้สมัครที่จะไม่ถูกคัดออกเพียงเพราะไม่ได้จบจากมหาวิทยาลัยชื่อดัง
แต่สิ่งที่สำคัญคือ คำถาม และ algorithms ที่ใช้ไนการวิเคราะห์ ถ้าผลออกมาเป็นที่น่าพอใจ เชื่อว่าอีกหลายบริษัทจะหันมามองเทคโนโลยีนี้สำหรับช่วยในการรับพนักงานมากขึ้น
คำถาม: คุณชอบวิธีการคัดคนแบบนี้มั้ย? เพราะอะไร?
________________________________________________________________________________ ถ้าชอบบทความนี้ คุณอาจจะสนใจ Monday’s Spark with Chutchapol.com ซึ่งผมคัดไอเดียเจ๋งๆ คำถามสั้นๆ ที่จะช่วยกระตุ้นพลังในการทำงานทุกเช้าวันจันทร์
Please note: I reserve the right to delete comments that are offensive or off-topic.