[คุยแบบชัชๆ] #001: อ.ธงชัย โรจน์กังสดาล

Interview / 6 November 2015 / 42

inteview cover pic_001

เพื่อเป็นการขอบคุณผู้อ่านที่สนใจติดตาม blog เล็กๆของผม ผมก็พยายามหาวิธีขอบคุณด้วยการเพิ่มคุณค่าแบบต่างๆให้กับ blog นี้ ตอนนี้ในหัวมีหลายเรื่องอย่างที่อยากทำ หนึ่งในนั้นคือการเปิดช่วงใหม่ [คุยแบบชัชๆ] ซึ่งเป็นการสัมภาษณ์คนที่น่าสนใจจากสายอาชีพต่างๆ โดยเน้นนำเสนอมุมมอง และเทคนิคการประยุกต์ใช้กับการทำงานของหนุ่มสาวยุคใหม่ เหมือนการเรียนลัดจากประสบการณ์ตรง

สำหรับแขกรับเชิญคนแรก อ.ธงชัย โรจน์กังสดาล ซึ่งแม้จะเป็นอาจารย์ที่คณะวิศวะที่ผมเรียน แต่ผมกลับรู้จักอาจารย์ครั้งแรกจากเรื่องการฝึกโยนลูกบอล 3 ลูก (juggling) ซึ่งดูแปลกตาสำหรับอาจารย์สอนภาควิศวะคอมพิวเตอร์

อ่านแล้วมีคำแนะนำ ติชม เพื่อพัฒนาตอนต่อๆไปให้ดีขึ้น เชิญที่ comment ด้านล่าง ขอบคุณครับ 

_____________________________________________________________________________

สิ่งที่คุณจะได้เรียนรู้

  • ความหมายของนวัตกรรมที่ไม่จำกัดอยู่แค่นักวิจัย
  • 5 ทักษะของนวัตกร และวิธีการประยุกต์ใช้
  • 3 เทคนิคการนำเสนอจาก TED Talk 
  • ทำอย่างไรถ้าหา passion ในการทำงานไม่เจอ

_____________________________________________________________________________

อยากให้อาจารย์ลองแนะนำตัวสั้นๆ แบบสร้างสรรค์ที่ไม่เคยแนะนำมาก่อน

ถ้าพูดถึงนวัตกรรมแล้วเนี่ยนะครับ ปัจจุบันในประเทศไทยเนี่ยนะ เราก็อาจจะนึกถึง iPhone นึกถึง iPad นึกถึง smartphone ต่าง ๆ นะครับ แต่วันนี้ผมจะมาขอเสนอนวัตกรรมอีกแบบหนึ่ง ซึ่งอาจจะยังไม่เคยเจอมาก่อน คือนวัตกรรมที่เป็นคนนะ และนวัตกรรมที่เป็นแบบคนในนี้ ก็คือเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยนะครับ ก็คือผม ธงชัย โรจน์กังสดาล เป็นอาจารย์ที่สอนด้านวิชาเกี่ยวกับนวัตกรรมนะ แล้วก็เชื่อว่าตัวเองก็เป็นนวัตกรรมแบบหนึ่งด้วย เพราะผมมีการผสมผสาน มีการนำไอเดียต่างๆ จนกระทั่งเกิดเป็นตัวผมขึ้นมานะครับ อันนี้ก็คือตัวผมคือนวัตกรรมเอง

คืออาจารย์มองตัวเองเป็นนวัตกรรม?

ครับ ผมมองตัวเองเป็นนวัตกรรม

อะไรเป็นจุดเริ่มที่ทำให้อาจารย์สนใจเกี่ยวกับเรื่องของนวัตกรรม จนทำให้คิดที่จะทำให้ตัวเองเป็นนวัตกรรมเอง

ก็จุดเริ่มต้นเลยคือตอนสมัยที่ผมเรียนสหรัฐครับ ก็ผมไปรู้จักเทคนิค mind map โดยบังเอิญ ไปอ่านหนังสือเกี่ยวกับเรื่อง mind map แล้วก็เลยลองอ่าน ลองทำตามหนังสือ ลองเขียน mind map ด้วยตัวเอง มาใช้สอนสรุปเนื้อหาบทเรียน ปรากฏว่าผลการเรียนดีขึ้นเยอะเลยนะครับ ก็คือลองใช้เทคนิคก็เลยเริ่มสนใจ พอศึกษา mind map ก็ไปเจอหนังสือทางด้านการฝึกความจำนะครับ ก็ปรากฏ mind map กับความจำเนี่ยมันก็ใกล้เคียงกัน ก็เลยเริ่มหันมาสนใจเรื่องเหมือนกับทางด้านการพัฒนาสมองมากขึ้นนะครับ

แล้วจนกระทั่งพอกลับมาสอนที่จุฬาเนี่ย ก็ได้อ่านหนังสือพวกนี้มากขึ้น แล้วก็ไปเจอหนังสือเล่มหนึ่งที่พูดถึงเรื่องความคิดสร้างสรรค์ ก็เลยเกิดแรงบันดาลใจจุดประกายว่า ที่จริงแล้วไม่เคยมีใครสอนความคิดสร้างสรรค์ในมหาวิทยาลัยเลยนะ ก็เลยอยากจะเอาความรู้ที่ได้จากการศึกษาที่ตัวเอง หรือการอบรมที่ต่าง ๆ มาเปิดเป็นวิชาขึ้นมา เป็นวิชาความคิดสร้างสรรค์ของนิสิตวิศวะคอมพิวเตอร์ขึ้นมานะครับ

แล้วก็ในระหว่างที่ผมเปิดวิชา ก็ยังไม่ค่อยมี content มีเนื้อหาเท่าไหร่ ก็ต้องอาศัยไปนั่งเรียน ไปนั่งอ่านหนังสือ แล้วศึกษาเพิ่มเติม แล้วเก็บเกี่ยวประสบการณ์ขึ้นเรื่อย ๆ ครับ ก็เลยเกิดเป็นวิชาการคิดเชิงนวัตกรรมที่จุฬาฯ ขึ้นมา

แล้ว feedback จากนิสิตที่เข้าเรียนวิชานวัตกรรมกับอาจารย์แล้ว เป็นอย่างไรบ้างครับ?

วิชานวัตกรรมของผมเนี่ย อาจจะไม่ได้ช่วยเรื่องการเรียน เพราะวิชาผมเราไม่ได้เน้นความรู้ ไม่มีการสอบ แต่ส่วนใหญ่นิสิตบอกเป็นวิชาที่เอาไปใช้ได้ในชีวิตจริง อย่างเช่นผมสอนด้วยเรื่องการนำเสนอนะ แล้วนิสิตก็บอกเนี่ยเทคนิคการนำเสนอที่สอนเนี่ยเอาไปใช้ได้จริงนะครับ หรืออย่างเช่นสอนด้วยเรื่องอาจจะมีกิจกรรมการโยน ลูกบอล juggling ก็มีนิสิตบางคนเอาไปใช้สำหรับเป็นงานอดิเรก งานอย่างเช่นการมองปัญหาด้วยมุมมองต่าง ๆ หรือการทำโครงการ อย่างเช่นนิสิตเขามักจะเน้นบอกว่าเอาไปใช้ในชีวิตประจำวันได้มากกว่านะครับ แต่ไม่ได้เป็นวิชาเหมือนกับจะช่วยกับการเรียนวิชาอื่นสักทีเดียวนะ นี่คือ feedback ที่นิสิตบอกมา

ส่วนใหญ่ก็บอกว่าสนุกนะครับ ได้รู้จักเพื่อนใหม่ เพราะวิชานี้มีเด็กมาหลายคณะเรียน ผมก็จะจับกลุ่มให้เด็กต่างคณะมานั่งทำงานร่วมกัน คือจะไม่ให้เด็กคณะเดียวกันมานั่งทำงาน แล้วผมจะจับกลุ่มให้เด็กแต่ละคณะ เช่น วิศวะ บัญชี อักษร นิเทศ ต้องมานั่งทำงานด้วยกัน จะไม่ให้มีวิศวะทั้ง 4 คน เพราะฉะนั้น เด็กก็จะบอกว่าก็จะได้เพื่อนใหม่ ได้เหมือนกับว่าแทนที่จะอยู่ในโลกแคบ ๆ ตัวเองก็จะได้เห็นมุมมองของคนอื่น ๆ ด้วย นี่ก็คือ feedback จากนิสิตที่บอกว่าได้รู้จักเพื่อนใหม่ ได้ทำกิจกรรม ได้ทำการบ้านที่ไม่เคยทำมาก่อนครับ แล้วก็ได้หลักการที่เอาไปใช้ในชีวิตประจำวันและในการทำงานได้

ถ้าเปลี่ยนมามองคนที่ทำงานแล้ว อาจารย์จะบอกกับคนกลุ่มนี้ยังไงเกี่ยวกับเรื่องนวัตกรรม เพราะผมเชื่อว่าหลาย ๆ คนเนี่ยมีความเข้าใจผิด คิดว่านวัตกรรมจะมีแค่ในแผนกที่เกี่ยวข้องกับ R&D เท่านั้น

ที่จริงแล้วตอนนี้มันมีหนังสือหลายเล่ม ที่เขาบอกว่าให้เด็กเรียกคำว่านวัตกรรม คือนวัตกรรมเนี่ยเป็นคำที่คนส่วนมากเข้าใจผิดมากนะครับ ถ้าภาษาไทยถ้าผมนึกถึงคำคำหนึ่ง คือเหมือนกับคำว่านิพพาน พอพูดคำว่านิพพานปั๊บ แต่ละคนจะตีความกันไปอย่าง

นวัตกรรมน่ะตอนนี้เป็นคำที่มีการตีความมากมายเลย และในที่นี้ผมก็อาจจะใช้ว่านวัตกรรมเนี่ยคือผลงาน ถ้าพอเราบอกผลงานปั๊บ เราจะนึกภาพออกก็คือสิ่งที่เราทำ เพียงแต่นวัตกรรมก็คือผลงานที่เติมความคิดสร้างสรรค์ แล้วก็มีประโยชน์ ถ้า definition นิยามเกี่ยวกับ นวัตกรรมเนี่ย คือผลงาน ทำอะไรก็ตามที่มันเป็นผลงาน มันไม่ใช่สิ่งที่อยู่ในหัว แต่มันเป็นสิ่งที่คนอื่นเห็น จับต้องได้ นะครับ แล้วก็มีความคิดสร้างสรรค์ มีความแปลกใหม่ แล้วก็สิ่งสำคัญคือมันจะต้องเป็นประโยชน์กับคนหมู่มาก

อันนี้ถึงจะตรงกับนิยามของคำว่านวัตกรรมนะครับ แต่ทีนี้พอพูดถึงคำว่านวัตกรรม คนก็นึกถึง smartphone นึกถึงอะไรที่มันเป็นไฮเทคนะ แต่ผมคิดว่าคนทุกอาชีพก็สามารถสร้างนวัตกรรมได้ คือเริ่มจากงานที่ตัวเองทำก่อน เช่นปรับปรุงการทำงานตัวเองให้ดีขึ้น เช่น ใช้เวลาน้อยลงนะครับ ใช้บุคคลน้อยลง ใช้เงินน้อยลงนะครับ แค่ปรับปรุงผลงานของเราให้ดีขึ้นกว่าเดิมเนี่ย อันนี้ก็เกือบจะเป็นนวัตกรรมขึ้นมาล่ะนะครับ เพราะฉะนั้น ผมก็จะไม่เหมือนกับว่าอยาก คือหลีกเลี่ยงให้ใช้คำว่า หลีกเลี่ยงการใช้คำว่านวัตกรรม ให้ใช้คำว่าเหมือนกับผลงานที่เราปรับปรุงให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ นะครับ เพราะฉะนั้น คำว่านวัตกรรมเป็นคำที่คนอื่นเขาควรจะเรียกเรา เราไม่ใช่สิ่งที่เราเรียกตัวเราเอง จริง ๆ แล้ววิชาผมเนี่ย ผมจะเน้นเรื่องการเป็นนวัตกร

นวัตกร?

นวัตกรมาจากภาษาอังกฤษ innovator นะครับ วิชาผมจะเน้นเรื่องความเป็นนวัตกร innovator skill ทักษะการเป็นนวัตกรนะ ซึ่งตอนนี้ก็มีงานวิจัยหลาย ๆ เรื่องเลย ผมก็ไปได้เสวนาเรื่องชื่อ Innovator DNA นะครับ เล่มนี้เขาบอกเลยการเป็นนวัตกรต้องอาศัยทักษะการตั้งคำถาม การสังเกต การเชื่อมโยง ปฏิสัมพันธ์ แล้วก็การทดลอง อย่างอันนี้คือ 5 ทักษะที่เขาวิจัยมา และจากการสัมภาษณ์นวัตกรเก่ง ๆ ระดับโลกนะครับ

เพราะฉะนั้น ในวิชาผมเนี่ยก็คือจะเน้นฝึกทักษะการเป็นนวัตกรนะครับ ก็คือฝึกเรื่องการตั้งคำถามด้วยวิธีต่าง ๆ ฝึกสังเกตนะครับ ฝึกเรื่องการเชื่อมโยง การผสมผสานนะครับ ฝึกเรื่องปฏิสัมพันธ์ เช่น การนำเสนอ การ present แล้วก็เรื่องการทดลอง การทำอะไรใหม่ ๆ นะ อันนี้ก็คือฝึกเรื่องการเป็นนวัตกร เพราะฉะนั้น คือไม่ว่าจะอยู่ในอาชีพไหนสามารถเป็นนวัตกรได้ ก็ใคร ๆ ก็ตั้งคำถามได้ ใคร ๆ ก็สังเกตได้นะครับ เราสามารถเอาความรู้จากศาสตร์ต่าง ๆ มาเชื่อมโยง เราสามารถมีปฏิสัมพันธ์ ฝึก connect เหมือนที่คุณชัชพลบอกเนี่ย connection networking ใช่ไหม แล้วก็เรามีสามารถมีการทำทดลอง ทำต้นแบบ ทำ prototype ซึ่งตอนนี้ที่คนพูดถึงกันเยอะมากคือการทำต้นแบบทดลอง อย่างเช่นเรามีไอเดียอยู่ในหัวแล้ว เราอยากจะทดสอบว่าไอเดียเราดีจริงหรือเปล่า เราก็ต้องมาทำ prototype ทำต้นแบบนะครับ อันนี้ล่ะอันนี้ก็คือสิ่งที่ผมจะเน้น คือฝึกเรื่องความเป็นนวัตกรนะครับ

ก็ถ้าจากงานวิจัยน่ะ ก็ต้องบอกว่านวัตกรเก่ง ๆ จะมี 5 ทักษะที่โดดเด่น แตกต่างจากคนธรรมดามากนะครับ แต่ในช่วงแรกเราไม่จำเป็นที่จะต้องไปฝึกทีเดียวทั้ง 5 อย่างนะ เช่นเราอาจจะมองว่าเรื่องไหนที่เราเก่ง เสร็จแล้วเนี่ยเราอยากจะให้เก่งมากขึ้นนะครับ หรือเรื่องไหนที่เราคิดว่าอ่อน ไม่เอาไหนเลยนะ อย่างผมเนี่ยผมเป็นคนที่รู้จักอ่อนสังเกต พ่อแกบอกไว้ตอนเด็ก ๆ แต่ตอนนี้ผมจะฝึกสังเกตมากขึ้น เพราะฉะนั้น ก็แล้วแต่แต่ละคน บางคนอาจจะเรื่องไหนที่เก่งอยู่แล้ว อาจจะอยากฝึกให้ตัวเองเก่งมากขึ้นจนถึงจุดที่ได้ หรือเรื่องไหนที่บางคนคิดว่าอ่อนก็จับเรื่องนั้นก็ได้ครับ แต่ถ้าความเห็นผม ผมคิดว่าอย่างน้อยทุกคนก็ต้องจับ 2 ด้าน จะด้านที่เราเก่งกับด้านที่เราอ่อนนะ มันจะได้เสริมกันนะครับ แล้วก็เสร็จก็ค่อย ๆ เสริม เสริมทีละทักษะ ก็คือเหมือนกับเป็นการฝึกนิสัยนั่นเอง น่ะฝึกนิสัย เพราะฉะนั้น ทุกคนน่ะสามารถเป็นนวัตกรได้

แล้วก็ในที่สุดถึงจุดจุดหนึ่ง ถ้าเราทำผลงานอะไรที่มันโดดเด่นแล้ว เดี๋ยวก็จะมีคนเข้ามาเรียกเราว่าเป็นนวัตกร หรือเรียกผลงานเราว่าเป็นนวัตกรรม เราอย่าไปเพิ่งเรียกตัวเราว่าเป็นนวัตกรนะครับ อย่าเพิ่งไปเรียกตัวเองว่าเป็นนวัตกร แต่เราฝึกความเป็นนวัตกรอยู่ ให้มองในแง่นี้

5 ทักษะของนวัตกร เป็นสิ่งที่ฝึกได้?

ใช่ครับ ฝึกนิสัยต่าง ๆ ให้เกิดขึ้นในตัวเรานั่นเองนะ แล้วก็เสร็จแล้วเนี่ยผลลัพธ์ที่ได้ ก็คือเราก็ลองทำผลงานต่าง ๆ ขึ้นมาดู เอาอาศัยจากทักษะ อย่างเช่นผมเนี่ยตอนนี้ผมก็สนใจเรื่องงานเขียนมากขึ้น อย่างวันนี้ผมเพิ่งเขียนบทความลงเดลินิวส์เรื่อง TEDx แล้วผมก็จะมีผลงานเขียนมากขึ้น แล้วก็ตอนนี้ที่ความสนใจก็จะเริ่มทำสื่อการสอน ทำคอร์สออนไลน์ ผมก็มองว่าอีกหน่อย ผมก็จะมีคอร์สออนไลน์ขาย เหมือนกับ udemy ผมก็ฝัน ใครจะไปรู้ผมอาจจะขายคอร์ส udemy สอนเป็นภาษาอังกฤษ แล้วทุกคนทำได้นะ เพราะเราสามารถสอนได้ การเริ่มต้นอะไรอาจจะทำคอร์สออนไลน์ภาษาไทยก่อนก็ได้ แล้วเราก็ฝึกภาษาอังกฤษให้คล่องขึ้น แล้วก็ทำคอร์สขาย udemy หรืออย่างเช่นผมอาจจะทำหนังสือขายบน kindle นะ ผมมีหนังสือภาษาไทยนะ ผมก็อาจจะไปจ้างคนอื่นแปลเป็นภาษาอังกฤษ หรือผมอาจจะเขียนเป็นภาษาอังกฤษเอง แล้วก็ทำเป็น format kindle ขึ้นมาขายให้คนทั่วโลก อันนี้คือเป็นมุมมองของผม ก็คือเราทำอะไรใหม่ ๆ ที่แบบอยู่นอก comfort zone ตัวเอง อันเนี้ยก็คือการเป็นนวัตกร

ถ้าคนที่ทำงานต้องการจะฝึก 5 ทักษะของนวัตกรตรงนี้ เราจะเริ่มยังไงไม่ให้สับสนดีครับ?

สมมติว่า 5 ทักษะอย่างน้อยจะเริ่มฝึก 1 หรือ 2 ทักษะก่อนนะ ทักษะอื่นอาจจะยังไม่สนใจ จนกระทั่งเรามีความเชี่ยวชาญ เสร็จแล้วลอง เช่นถ้าฝึกเรื่องการตั้งคำถามเนี่ย แล้วเอาเทคนิคการตั้งคำถามเนี่ยมาประยุกต์กับงานที่เราจะทำ เช่นบอกว่างานไหนที่เป็นปัญหา ลองฝึกใช้เทคนิคทักษะการตั้งคำถาม ก็คือลองใช้สิ่งที่เราฝึกเนี่ยนะเอามาใช้ อย่างเช่นผมฝึกเรื่องการสังเกต ผมก็ฝึกด้วยการถ่ายรูปนะ นี่คือวิธีการฝึกที่ผมจะแนะนำลูกศิษย์ ก็คือว่าแต่ละวันน่ะ ลองถ่ายรูปวันละ 1 รูปนะครับ ถ่ายรูปในมุมมองใหม่ ๆ ถ่ายรูปสิ่งที่แบบเราอาจจะไม่ได้เคยสังเกตมาก่อนนะครับ แล้วก็รูปที่ผมถ่ายน่ะ มันก็จะโพสขึ้น Facebook นะ แล้วคนก็กด Like เยอะ เห็นไหมนี่คือผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นล่ะ หรืออย่างรูปบางรูปน่ะผมก็มาใส่ในสไลด์เลยนะ เห็นไหมนี่คือผลลัพธ์เกิดขึ้นแล้ว แล้วสไลด์ผมจะแปลกใหม่ ที่สำคัญเพราะสไลด์ผมใช้รูปที่ผมถ่ายเองนะ เห็นไหมนี่ก็คือความคิดสร้างสรรค์ของตัวเอง ก็คือประโยชน์ที่ได้ในการสังเกตนะ ก็คือผมฝึกสังเกตด้วยการถ่ายรูป ฉะนั้น ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นคืออะไร ผลลัพธ์ก็คือรูปที่ผมถ่ายเนี่ยมาทำสไลด์ ฉะนั้นสไลด์ผมจะไม่ซ้ำใคร เพราะเป็นรูปของผมเอง ไม่สามารถหาจาก Google ได้

แถมไม่ต้องกังวลเรื่องลิขสิทธิ์ด้วย

ไม่กังวลเรื่องลิขสิทธิ์ นี่ก็คือสิ่งที่เกิดขึ้นล่ะว่าผมฝึกทักษะเป็นอย่างนี้นะ หรืออย่างเช่นการเชื่อมโยงก็ยิ่งชัดนะ ผมคิดว่าตัวผมมีจุดเด่นน่าจะเป็นชอบเรียนศาสตร์ต่าง ๆ ผมก็เอาความรู้จากศาสตร์ต่าง ๆ เนี่ยมาผสมผสาน เกิดเป็นเนื้อหาวิชาของผมที่เป็นเอกลักษณ์ไม่ซ้ำใคร เพราะว่าเกิดจากการเอาหลาย ๆ ส่วนมารวมเข้าด้วยกันอย่างนี้เป็นต้น

ก่อนเริ่มสัมภาษณ์ ผมได้มีโอกาสนั่งฟังอาจารย์สอนนิสิตเรื่อง การนำเสนอแบบ TED อยากให้อาจารย์แนะนำย่อ ๆ สำหรับคนไม่รู้จักว่าการนำเสนอแบบ TED ว่าคืออะไร?

TED เป็นคำย่อคำว่า T มาจากคำว่า Technology, E ก็มาจาก Entertainment นะ ที่แปลว่าบันเทิงนะ D มาจาก Design การออกแบบ ก็คือจุดเริ่มต้นของ TED เลย ก็คือก็จะเป็นการนำเสนอนะ ที่แบบต้องเก็บเงินคนฟังแพงมากเลย ก็จะมีวิทยากร หรือผู้นำเสนอเก่ง ๆ ของศาสตร์ต่าง ๆ มาพูดเรื่องที่น่าสนใจให้ฟัง

แล้วในช่วงหลังเนี่ย คนที่จัดงานเนี่ยเขาอยากจะให้เผยแพร่มากขึ้น เขาก็เลยถ่าย VDO นะการนำเสนอเนี่ย แล้วก็ขึ้นบน website ให้คนดูฟรีได้นะครับ โดยที่ไม่ต้องเสียเงินแพง ๆ มาฟังสด ๆ นะครับ แล้วก็การนำ TED ก็เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้น เขาก็จะเอาคนเก่ง ๆ แล้วก็จะต้องนำเสนอเป็น คือบางคนเนี่ยเก่ง แต่พูดไม่รู้เรื่อง ฉะนั้น TED เนี่ยก็จะคัดกรองว่านำ VDO ขึ้นมาจะต้องนำเสนอสิ่งต่าง ๆ ให้เข้าใจสไลด์โดยรวมแล้วเข้าใจง่ายนะครับ ผมคิดว่าจุดแข็ง TED คือเขาทำอย่างต่อเนื่อง คือเขาไม่ได้ทำแล้วหยุด ถ้าทำแล้วต่อเนื่อง ม้วน VDO เขาจะมากขึ้น ๆ เรื่อย ๆ นะ จนกระทั่งในที่สุดเนี่ย ก็อาจจะเป็นเพราะปากต่อปาก หรืออินเตอร์เน็ท อะไร ทำให้คนรู้จัก TED แพร่หลายนะครับ

ในที่สุดทางผู้จัดงาน TED เนี่ย ซึ่งแต่เดิมจัดที่สหรัฐ ก็เลยอนุญาตบอกว่าเอาคนประเทศไหนก็สามารถจัดงาน TED ตัวเองได้ ก็เลยเลือกเกิด TEDx ขึ้นมา เนี่ยตอนนี้ TEDx ก็มาจัดที่เมืองไทยล่ะ อย่างเช่นในเมืองไทยเรามี TEDx Bangkok ก็คือหมายถึง TED ของกรุงเทพ เรามี TEDx เชียงใหม่ ก็คือจัดที่เชียงใหม่ แล้วก็ล่าสุดเราก็มีTEDx Chulalongkorn ก็คือเป็น TEDx ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนะ แล้วการจัดงาน TED ทุก ๆ ครั้ง ก็คือกำหนดจะต้องมีการถ่าย VDO ขึ้น YouTube แล้วแปลเป็นภาษาอังกฤษนะ คือเราสามารถใน TED เป็นภาษาจีน ภาษาไทย ภาษาอะไรก็ได้ แต่จะต้องมีการแปล subtitle เป็นภาษาอังกฤษทุกครั้งนะครับ เพื่อให้คนทั่วโลกสามารถเข้าถึงได้ ซึ่งผมก็ชอบดู TED นะ เพราะ TED จะได้ความรู้ใหม่ ๆ นะ ที่บางทีเราไม่เคยรู้มาก่อน ได้เห็นเทคโนโลยี ได้เห็นมุมมองใหม่ๆ

แล้ว TED เนี่ยเขาจะมีข้อกำหนดว่า VDO น่ะจะต้องไม่เกิน 20 นาทีนะ อย่างมาก 20 นาทีนะ เพราะเขาวิจัยว่า คนดูทาง VDO ออนไลน์จะมีสมาธิแค่ประมาณ 20 นาทีเท่านั้นเองนะ แต่ TED สั้น ๆ มีประมาณ 2 – 3 นาทีก็มีนะ เราสามารถดู TED สั้น ๆ ไปก่อนได้

อาจารย์ช่วยแนะนำเทคนิคสังเกตสั้นๆจากการได้ดู VDO TED มา เพื่อให้คนทำงานสามารถเอาไปประยุกต์ใช้ได้ทันที เพื่อที่จะช่วยการนำเสนอให้ดีขึ้นหน่อยครับ

อันแรก เราต้องรู้ว่าคนฟังเป็นใคร อันนี้สำคัญมากเลย เพราะว่าคือเราต้องรู้หัวข้อที่เราจะเสนอใช่ไหม แล้วเราต้องรู้คนฟัง คนฟังเป็นใคร เช่นระดับความรู้คนฟังใช่ไหม เช่นสมมติว่าผมไปนำเสนอ หรือไปต่อนำ จะต้องรู้ก่อน เช่นคนฟังเนี่ยสามารถเข้าใจภาษาอังกฤษไหมนะ เพราะสไลด์ผมบางทีมีศัพท์เทคนิคภาษาอังกฤษ หรือผมอาจจะเปิดคลิป อะไรภาษาอังกฤษให้ดู ถ้าคนฟัง หรือว่าไม่ได้มีพื้นความรู้มา ผมก็ต้องปรับเนื้อหา ฉะนั้น สิ่งแรกเลยคือเราต้องรู้จะต้องทราบข้อมูลจากคนฟังให้เยอะที่สุดเท่าที่จะเยอะได้นะ เพื่อที่จะได้เตรียมการสอน

แล้วก็ต้องทราบเรื่องเทคโนโลยีต่างๆ ในการนำเสนอ เช่น สถานที่ที่เราจะไปนำเสนอ เขามี LCD projector มี WIFI หรือเปล่า เพราะในบางครั้ง มันอาจจะไม่มีเทคโนโลยีพวกนี้ เราอาจจะต้องนำเสนอแบบปากเปล่า หรือจะใช้ flip chartในโรงแรม

อันนี้คือถ้าเราทราบข้อมูลล่วงหน้าเกี่ยวกับการนำเสนอมากเท่าไหร่นะ เราก็จะเตรียมการเตรียมตัวเราได้ดีเท่านั้นนะครับ แล้วก็ทุกครั้งก็จะต้องมีแผนสำรอง backup plan เช่น notebook เราพังปั๊บ เราก็ต้องมีไฟล์เก็บใน thumbdrive หรือขึ้น dropbox ขึ้น cloud นะ คือต้องมีแผนฉุกเฉินเสมอ หรือแม้แต่สไลด์เราเนี่ยอาจจะพิมพ์บนกระดาษนะ ถ้าสมมติคอมพิวเตอร์เราพัง อย่างน้อยเราก็มีกระดาษสามารถดูได้

ผมสังเกตเวลาอาจารย์พูดหรือว่านำเสนอเนี่ย เต็มไปด้วย passion ถ้ามีเป็นคำถามหนึ่งที่ผมก็สังเกตจากเพื่อนร่วมงานหลายคน ที่บอกว่า “เนี่ยฉันมาทำงานแล้วอยากหาแรงจูงใจ รู้สึกเบื่อ รู้สึกทำงานไปวัน ๆ เพื่อรอสิ้นเดือน” อาจารย์มีวิธีหาแรงจูงใจ หรือว่ามีแหล่ง หรือว่ามีกระตุ้นตัวเองยังไง เพื่อให้รู้สึกว่าฉันทำงานอย่างมีความสุข        

เอ่อ คำถามนี้แปลกนะ คือผมว่าเป็นคำถามที่ดีมากเลย คือคนส่วนใหญ่เขาบอกว่า follow your passion ใช่ไหม คืออย่างเช่น สตีฟ จอบส์ หรือใครต่อใครพูด ซึ่งจริง ๆ มันก็ถูกนะ แต่ตอนนี้มีบางคนบอกว่ามันถูกแค่ครึ่งเดียว

คือประการที่ 1 เนี่ย ที่เราออกไป follow your passion แต่เราไม่มี passion เลย แล้วเราจะ follow your passion ได้ไงใช่ไหม อย่างที่บอกคือไม่มีแรงบันดาลใจ ฉะนั้น เลยมีคำแนะนำ อย่างเช่นผมกลับรู้สึกว่าตรงตัวเอง เขาบอกให้ follow your skill ให้ติดตามความเก่งของคุณ คืออย่างตัวผม ผมสังเกตนะ ผมจะไม่เคยคิดว่าจะมาชอบการสอน แต่ปรากฏตอนที่สอนช่วงแรก ๆ น่ะ มีคนชมนะ อันนี้ไม่ได้ชมตัวเอง มีคนพูดบอกสอนดี สอนเข้าใจง่าย เป็นระบบ นี่หลายคนพูดอย่างนี้จริง ๆ แล้วพูดบ่อยมากเลย จนกระทั่งในที่สุด เอ๊ะ เอ่อ ผมก็แปลกใจตัวเองเราสอนดีตรงไหน เพราะเราดูคนอื่นสอนก็เหมือน ๆ เราสอน แต่มีคนให้ feedback มาเรื่อย ๆ ว่าสอนดี สอนเข้าใจง่าย เป็นขั้นตอน เป็นระบบ ใช่ไหม พอเราได้ยินปั๊บ มันก็เหมือนกับดีใจใช่ไหม เราก็อยากจะปรับปรุงของเราให้ดีขึ้นนะ เช่นผมก็ไปเรียนหลักสูตร trainer ไปศึกษาเรื่องการสอนต่าง ๆ พอ skill เราดีขึ้นไปอีก ก็จะมีคนชมบอกว่าดีมากขึ้น แล้วในที่สุด skill ของเราเนี่ยก็จะเก่งขึ้นเรื่อย ๆ แล้วในที่สุดพอทักษะเราดีขึ้นเรื่อย ๆ เราจะชอบ อืม เพราะฉะนั้น มีหนังสือเล่มหนึ่งที่เขาบอกเนี่ย แล้วตรงกับตัวผม คือ skill มาก่อน passion มาทีหลัง มันขัดกับความเชื่อของคนส่วนใหญ่

skill มาก่อน ทักษะมาก่อน เพราะฉะนั้น ก็นั่นล่ะก็ตามที่เราเก่งน่ะ ทำให้เก่งขึ้นเรื่อย ๆ แล้วเสร็จแล้วในที่สุดพอเราเก่งเรื่องนั้นปั๊บ โดยส่วนใหญ่เราจะชอบ เพราะเราจะได้ feedback เช่น คำชม หรือเงิน หรืออะไรก็ตาม ซึ่งอาจจะไม่ใช่ทุกคน แต่ผมเนี่ยอ่านหนังสือเล่มหนึ่ง เขาบอกให้ follow your skill not your passion นะ เพราะ passion มันยังไม่เกิด เพราะเราต้องฝึก skill ก่อนนะ แล้วเขาก็มียกตัวอย่างเหมือนกับหลายคนเลยว่า บางคนฝึก skill ฝึกอะไรมา แล้วในที่สุดพอเก่งไปเรื่อย ๆ เก่งถึงที่สุดปั๊บ ปรากฏว่าจะชอบเองโดยปริยาย

เพราะฉะนั้น ในคำถามข้อนี้ก็ตอบได้ว่าเก่ง ถามว่าตัวเองเก่งด้านไหนล่ะใช่ไหม ต้องหาสิ่งที่ตัวเองเก่งก่อน แล้วก็พยายามพัฒนาความเก่งให้ขึ้นเรื่อย ๆ พอพัฒนาความเก่งขึ้นเรื่อย ๆ แล้ว passion มันจะเกิดขึ้น ส่วนใหญ่เป็นอย่างนี้ แต่ก็อาจจะเป็นไปได้มีบางคนที่เก่งแล้วไม่ชอบ ที่ยังไม่ชอบก็มี แต่ผมว่าน่าจะน้อย แต่ส่วนใหญ่คือถ้าเก่งด้านไหนแล้วเนี่ย ถึงจุดจุดหนึ่งปั๊บใช่ไหม เราจะได้ feedback คนอื่นปั๊บ คำชม หรืออะไรก็ตาม หรือโดยตัวเงิน หรือผลงานอะไรก็ตาม เราจะเกิดความชอบขึ้นมา

เหมือนกับผมอีกเรื่องหนึ่งงานเขียน จริง ๆ เนี่ยเรามีคอลัมน์ในหนังสือ ส่วนหนึ่งเป็นคอลัมน์วิศวะคอมพิวเตอร์ ช่วงนั้นผมก็เขียนไม่บ่อยหรอก แต่เหมือนกันเขียนไปเขียนมาคนบอกชอบอ่าน มันเกิดอยากเขียนมากขึ้นเรื่อย ๆ แล้วผมเลยไปเรียนเรื่องการเขียนนะ แต่ก็ยังไม่รู้ว่าตัวเองต้องเขียนเก่ง แต่ตอนเนี้ยเริ่มชอบการเขียนล่ะ เห็นไหมเพราะฉะนั้น skill มันมาก่อน passion แต่ผมไม่แน่ใจ ตอนนี้คือเรื่องของการสอนและเรื่องงานเขียน แล้วตอนนี้ก็เลยเขียนมากขึ้นเรื่อย ๆ เขียนมากขึ้น แล้วยังอยากจะฝึกการเขียนให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ

น่าสนใจมากครับ เพราะที่ผ่านมาเคยได้ยินคนบอกว่าให้ follow your passion แต่ถ้าเราไม่รู้ว่า passion ของเราคืออะไร แล้วเราจะ follow อะไรดี

มันถูกแค่ครึ่งเดียวนะ คือบางคนจะได้นะ แล้วถ้าบางคนมี passion อยู่แล้ว แต่อีกอย่างหนึ่งก็หลายคนบอก follow your passion มันจะต้องเป็น passion ที่เป็นประโยชน์กับคนอื่น เช่นบางคนไป passion สะสมของอะไรบางอย่างที่มันไม่เป็นประโยชน์ ฉะนั้น ก็คือคือบางคนก็บอก passion แล้วจะมี money มันอาจจะไม่จริงเสมอไปนะ passion บางอย่างมันอาจจะไม่เป็นประโยชน์กับคนอื่น เพราะฉะนั้น passion ของเรามันจะต้องเป็นประโยชน์ต่อคนอื่นด้วยใช่ไหม ที่มันถึงจะไปทำให้เกิดรายได้ หรือทำให้เกิดชื่อเสียง หรือทำให้เกิดผลตามมา เพราะฉะนั้นเนี่ย คำว่า follow your passion จึงถูกแค่ครึ่งเดียว มันยังไม่ถูกทั้งหมดสักทีเดียว

คำถามสุดท้าย สมมติว่าอาจารย์นั่ง time machine ย้อนเวลากลับไปเจอตัวเองตอนที่เพิ่งเรียนจบใหม่ ๆ อยากจะบอกอะไรกับตัวเอง?

ถ้าย้อนกลับไป time machine ไปเนี่ย ก็บอกว่าให้ฝึกเรื่องการ ให้ฝึกสร้างนิสัยให้ดี เหมือนกับว่านิสัยบางอย่างที่ผมไม่ค่อยดี ก็คือเหมือนว่าพยายามฝึกวินัยน่ะ ให้มีวินัยให้มากขึ้นเอาอย่างนี้ดีกว่า ให้มีวินัยในตนเองมากขึ้น เพราะตอนสมัยก่อนตอนนั้นยังไม่เหมือนกับยังไม่มีเกมส์ไม่มีอะไร ก็ใช้เวลาไปวัน ๆ อยากใช้เวลาให้เป็นประโยชน์มากขึ้น

ใช้เวลาให้เป็นประโยชน์มากขึ้น?

เท่านั้นเอง ใช้เวลาเป็นประโยชน์ จริงอย่าไปเสียเวลากับเรื่องไร้สาระมากนะเท่านั้นเอง แล้วไม่งั้นมันอาจจะเก่งกว่านี้อีกเยอะ

 

FullSizeRender-4

____________________________________________________________

ถ้าชอบบทสัมภาษณ์นี้ คุณอาจจะสนใจ Monday’s Spark with Chutchapol.com ซึ่งผมคัดไอเดียเจ๋งๆ คำถามสั้นๆ ที่จะช่วยกระตุ้นพลังในการทำงานทุกเช้าวันจันทร์

Click Here to Subscribe