Career Ladder: เราฝากอนาคตไว้กับอะไร?

Reflection / 4 June 2012 / 44

ในชีวิตของคนทำงานกินเงินเดือนอย่างเราๆ นอกเหนือจากความมั่นคงในบริษัท ที่จะไม่ล้มละลาย หรือไล่เราออกก่อนที่เราต้องการ

ความก้าวหน้าในอาชีพเป็นอีกเรื่องที่คนส่วนใหญ่หวังไว้ในการทำงาน

คงไม่มีใครอยากจะทำงานเดิม ความรับผิดชอบเหมือนเดิม โดยไม่มีความก้าวหน้าตลอดชีวิต

อย่าว่าแต่ไม่ก้าวหน้าตลอดชีวิตเลย แค่ให้ทำงานเดิม ซ้ำๆนานกว่าที่คาดหวัง หลายคนก็จะเริ่มกระสับกระส่าย หรือแม้กระทั่งมองหางานในที่ใหม่กันแล้ว

โดยเฉพาะ Gen Y เช่นผม (เนียนได้อีก :P ) และน้องๆ ที่ความก้าวหน้ามีความหมายมากกว่าเงินเดือนที่เพิ่มขึ้น

หลายๆคนจะผูกความก้าวหน้าไว้กับการประสบความสำเร็จ การได้รับการยอมรับจากเพื่อนๆและสังคม

หรือแม้แต่เป็นหนึ่งในสิ่งที่สาวๆ (หรือหนุ่ม) ใช้พิจารณาว่าจะฝากชีวิตไว้กับคนนี้ได้หรือไม่เลย!

ในมุมขององค์กร

องค์กรใหญ่ๆระดับประเทศ หรือระดับโลก เค้ามีการคิดและพัฒนาเรื่องนี้มานาน

จึงเกิดสิ่งที่เรียกว่า Career Path (แผนภูมิเส้นทางอาชีพ) และ Career Ladder (แผนภูมิบันไดอาชีพ) ขึ้นเพื่อให้รักษาพนักงานที่เก่งไว้เพื่อทำประโยชน์กับบริษัทให้ได้มากและนานที่สุด

ที่ผ่านมาผมก็มองว่า Win-Win ได้ด้วยกันทุกฝ่าย

บริษัทก็รักษาพนักงานที่ต้องการได้

พนักงานก็ได้เห็นและกำหนดอนาคตของตัวเอง ผ่านหลักสูตรการพัฒนา และงานที่ท้าทายในรูปแบบต่างๆ

ปัญหาคือ ด้วยสถานการณ์ของเศรษฐกิจรอบโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงแบบคาดเดาได้ยากมากถึงมากที่สุด

ไหนจะเสถียรภาพของยูโร ไหนจะอัตราว่างงานที่เพิ่มสูงขึ้นทั่วโลก และอื่นๆอีกมากมาย ยังไม่นับภัยพิบัติทางธรรมชาติต่างๆ

ซึ่งแน่นอนที่สุด

ธุรกิจก็ต้องปรับตัวเพื่อรับการเปลี่ยนแปลงด้วยวิธีต่างๆ เพื่อให้ธุรกิจอยู่ได้ ไม่ว่าจะเป็นการปรับกลยุทธ์ รัดเข็มขัด  ปรับขนาดองค์กร หรือ ลดจำนวนพนักงาน

เพราะความแน่นอนคือความไม่แน่นอน…

ผมถึงมองว่าการฝากอนาคตไว้กับ Career Path หรือ Career Ladder ที่บริษัทวางไว้เพียงอย่างเดียว เป็นการชะล่าใจจนเกินไป

ผมถูกสอนมาเสมอว่าอย่าฝากอนาคตของเราไว้กับใคร ไม่มีใครสนใจอนาคตของเรา ไม่ว่าจะเป็นงาน หรือเรื่องส่วนตัวต่างๆ เท่าเราอีกแล้ว

การที่เราทำงานดี แล้วคิด(เอาเอง) ว่าหัวหน้าจะเห็นและได้ก้าวหน้า เติบโตไปขึ้นกับบันไดของบริษัทจึงเป็นสิ่งที่หลายคนพลาดไป

เพราะมีอีกหลายปัจจัยที่เรา หรือแม้แต่หัวหน้าควบคุมไม่ได้ เช่น ปัญหาการเมือง หรือเศรษฐกิจของประเทศ หรือภูมิภาค

ไม่นานมานี้ ผมสังเกตว่าน้องๆที่ผมรู้จักหลายคน โดยเฉพาะน้องๆที่เก่งๆเพิ่งจบ และไฟแรงมากๆ จะมองว่าต้องรีบโตหรือโปรโมตเร็วๆ ถึงจะแปลว่าประสบความสำเร็จในชีวิตการงาน

ซึ่งอาจทำให้พลาดภาพใหญ่ของ Career ในระยะยาวได้

ผมได้อ่านสุนทรพจน์ของ Sheryl Sandberg, COO ของ Facebook ในการรับปริญญาของนักศึกษา Harvard Business School (บทพูดทั้งหมดของสุนทรพจน์นี้) แล้วมีส่วนหนึ่งที่เธอได้พูดถึงเรื่อง Career Ladder ไว้อย่างน่าสนใจว่า

 

Lori has a great metaphor for careers. She says they’re not a ladder; they’re a jungle gym. As you start your post-HBS career, look for opportunities, look for growth, look for impact, look for mission. Move sideways, move down, move on, move off. Build your skills, not your resume. Evaluate what you can do, not the title they’re going to give you. Do real work. Take a sales quota, a line role, an ops job, don’t plan too much, and don’t expect a direct climb. If I had mapped out my career when I was sitting where you are, I would have missed my career.

You are entering a different business world than I entered. Mine was just starting to get connected. Yours is hyper-connected. Mine was competitive. Yours is way more competitive. Mine moved quickly, yours moves even more quickly. As traditional structures are breaking down, leadership has to evolve as well. From hierarchy to shared responsibility, from command and control to listening and guiding. You’ve been trained by this great institution not just to be part of these trends but to lead. As you lead in this new world, you will not be able to rely on who you are or the degree you hold.

You’ll have to rely on what you know. Your strength will not come from your place on some org chart, your strength will come from building trust and earning respect. You’re going to need talent, skill, and imagination and vision, but more than anything else, you’re going to need the ability to communicate authentically, to speak so that you inspire the people around you and to listen so that you continue to learn each and every day on the job.

 

*ผมขีดเส้นใต้ส่วนที่คิดว่าน่าสนใจเอง สำหรับคนที่ไม่อยากอ่านเยอะ

สิ่งที่ Sheryl บอกคืออย่ามองความก้าวหน้าในอาชีพการงานเป็นเหมือนการไต่บันได ที่ต้องขึ้นอย่างเดียว

ในความจริง เราอาจต้องขยับไปข้างๆบ้าง ลงบ้าง เปลี่ยนบันไดบ้าง พักบ้าง

สิ่งที่ควรให้ความสำคัญมากกว่าคือได้พัฒนาทักษะ และได้ทำงานจริงๆมากกว่า หางานที่ตำแหน่งเท่ๆ งานสบายๆ แต่ไม่ได้ทำ หรือ เรียนรู้อะไร

ซึ่งผมก็เชื่อว่าวิธีนี้จะดีกว่าและก้าวได้ไกลกว่าในระยะยาว

นอกเหนือจากนี้ ผมมีเคล็ดลับที่ผมเชื่อและใช้กับตัวเองเพื่อช่วยสร้าง Career มาฝาก 2-3 ข้อ

  1. หาว่าตัวเองชอบทำอะไร ผมเชื่อว่าถ้าทำในสิ่งที่ไม่ชอบ โอกาสที่จะพัฒนา และเก่งมีน้อยกว่าคนที่ชอบ ต่อให้ทำจนเก่งได้ ก็คงไม่มีความสุขเท่ากับทำในสิ่งที่ชอบ
  2. เปิดใจเรียนรู้ / ทำ สิ่งใหม่ อย่ายึดติดว่าเพราะฉันจบอะไรมา ฉันต้องทำงานเกี่ยวกับเรื่องนั้นตลอดชีวิต หรือปฏิเสธงานที่ไม่เคยมีประสบการณ์ เพราะไม่รู้ หรือกลัว งานส่วนใหญ่ในอนาคต จะยังไม่มีสอนในปัจจุบันหรอก เพราะฉะนั้น ใช้อินเตอร์เน็ตให้เป็นประโยชน์ในการหาข้อมูล และเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ
  3. สร้าง Network ที่มีคุณภาพ งานดีๆที่ผมเห็น(โดยเฉพาะระดับผู้บริหารขึ้นไป) จะผ่านมาจากคนที่รู้จักแนะนำกันมากกว่าเห็นในหนังสือพิมพ์  แน่นอนกว่าคุณก็ต้องทำงานดี มีผลงาน การที่มี Network ที่มีคุณภาพและกว้างพอจะช่วยส่งต่อภาพนี้ไปยังคนที่ต้องการเราเท่านั้น (คนละอย่างกับเด็กเส้น เด็กฝากที่ไม่มีความสามารถนะครับ)

อย่าลืมว่าชีวิตการทำงานไม่ใช่แค่ 5 ปี 10 ปี แต่เป็น 30-40 ปี หรือยาวกว่านั้น

การมีมุมมองที่กว้าง และวางแผนได้ดีกว่าจะช่วยให้เราสำเร็จได้อย่างยั่งยืนกว่าในอนาคต

แล้วคุณล่ะ มีมุมมองเรื่องของ Career Path กับ Career Ladder กันอย่างไรบ้าง มาแบ่งปันกันได้นะครับ… :)
________________________________________________________________________________
ถ้าชอบบทความนี้ คุณอาจจะสนใจ Monday’s Spark with Chutchapol.com ซึ่งผมคัดไอเดียเจ๋งๆ คำถามสั้นๆ ที่จะช่วยกระตุ้นพลังในการทำงานทุกเช้าวันจันทร์

Click Here to Subscribe