The Happiness Equation: สมการความสุข?

Reflection / 30 January 2011 / 156

Picture by Khantipol Kasemsant

วันนี้ได้มีโอกาสไปร่วมงานเปิดตัวหนังสือ “The Happiness Equation” ของพี่เบียร์ (นิค เผ่าทวี) อีกหนึ่งคนไทยที่มีความสามารถระดับสากลในฐานะนักเศรษฐศาสตร์ และปัจจุบันสอนเศรษฐศาสตร์อยู่ที่ Nanyang Technological University ประเทศสิงคโปร์

แม้จะมีโอกาสได้อ่านไปเพียงบทเดียว แต่ก็ได้อะไรข้อคิดน่าสนใจหลายอย่างจากการฟังพี่เบียร์เล่าในงานนี้

  • ความสุขแม้จะดูเป็นเรื่องนามธรรม วัดผลลำบาก แต่ทางเศรษฐศาสตร์ก็สามารถหาวิธีวัดได้โดยการเก็บข้อมูลมากพอ (หลายสิบปี หลายหมื่นข้อมูล) เพื่อที่จะหาปัจจัยหรือบอกความสัมพันธ์ของสิ่งที่ต้องการศึกษา ซึ่งในที่นี้คือความสุข
  • คนเราจะจำเหตุการณ์อะไรที่โดดออกมาจะประสบการณ์ปกติ และตอนจบของเรื่องมากกว่าช่วงอื่นๆ (“peak-end” effect) ซึ่งขัดกับความคิดของคนส่วนใหญ่เชื่อว่า เราจะจำสิ่งที่ทำซ้ำๆได้ ตัวอย่างเช่น ส่วนใหญ่เราจะจำได้ตอนเกิดเหตุการณ์ 9/11 (peak)เรากำลังทำอะไรอยู่อย่างละเอียด แต่ถ้าถามว่าแล้ววันก่อนหน้านั้น1วันเราทำอะไรอยู่ คนส่วนใหญ่จะจำไม่ได้
  • ถ้าไปผับแล้วอยากเพิ่มโอกาสตัวเองในการได้เบอร์สาว ให้หาเพื่อนที่คล้ายๆกับเราแต่โดยรวมด้อยกว่าเราเล็กน้อยไปด้วย โอกาสของเราจะเพิ่มขึ้นเทียบกับไปคนเดียว เพราะสาวจะเทียบว่าเราดีกว่าเพื่อนอีกคนและให้เบอร์เรา (ที่เรื่องอย่างนี้ จำแม่นเชียว…^^”)
  • หนังสือเล่มนี้ไม่ใช่หนังสือประเภท How to แต่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับความสุขที่ใกล้เคียงความจริงมากขึ้นตามหลักการศึกษาแบบวิทยาศาสตร์ ผมชอบที่พี่เบียร์บอกว่าข้อมูลมีอยู่3ส่วน ส่วนของเรา(ที่คิดว่าจริง)my part, ส่วนของคุณ;your part, และความจริง; the truth เพราะสิ่งที่เราเข้าใจว่าเป็นความจริงส่วนใหญ่จะมีความเห็นของเรา (หรือของคนอื่น) เข้าใจผสมจนไม่ใช่ความจริง (งงมั้ย? ^^”)
  • ส่วนตัวผมชอบคำถามคนฟังที่ถามว่า ในฐานะคนเขียน”The Happiness Equation” จะช่วยให้ตัวเองหาจุดที่ดีที่สุดในการทำงให้ชีวิตมีความสุขมั้ย? พี่เบียร์ตอบว่า โดยส่วนตัวเป็นคนที่มีความสุขง่ายอยู่แล้ว แต่การที่รู้ว่ายังไงซะชีวิตก็ต้องมีทั้งเรื่องดีและร้ายเข้ามา รวมกับความเข้าใจในเรื่อง peak-end effect ทำให้รู้สึกพร้อมที่จะรับมือถ้าเจอเรื่องร้ายอะไรเข้ามาในชีวิต แค่นอนพัก หรือปล่อยมันไป ไม่นานเราก็จะไม่รู้สึกแย่เท่ากับวันแรกที่เจอ ส่วนตัวผมคิดเชื่อมกับธรรมะเรื่องการคิด “เท่านั้นเอง เดี๋ยวมันก็ผ่านไป ทั้งเรื่องดีและเรื่องร้าย” ทำให้ใจเรานิ่ง และสงบ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของความสุข(สงบ) ที่ไม่ใช่เรื่องของการให้ใจกระเพื่อมไปตามเหตุการณ์ภายนอกที่ดีและร้าย (เอ…หรือเราควรไปเขียนหนังสือบ้างดี :P)

ถ้าอ่านจบแล้วจะมาเล่าให้ฟังต่อนะครับ… :)