จะใช้ประโยชน์จากความต่างทางความคิดได้อย่างไร?

tips / 7 June 2009 / 156

ในปัจจุบันคงเป็นเรื่องยากที่จะหลีกเลี่ยงการทำงานร่วมกับคนที่คิดแตกต่างจากเรา ซึ่งความต่างนี้มาได้จากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นจากเชื้อชาติ วัฒนธรรม การศึกษา ประสบการณ์ หรือแม้กระทั่งแผนกที่อยู่ทำให้ต้องสวมหมวกคนละใบ

ความแตกต่างที่เราหนีไม่พ้นนี้ จริงๆเป็นประโยชน์มากกว่าที่เราคิดถ้าเราสามารถใช้ประโยชน์จากความแตกต่างนี้ได้

วันศุกร์ที่ผ่านมา ผมได้มีโอกาสประชุมวางแผนงานสำหรับปีหน้าของบริษัท ซึ่งในที่ประชุมกว่า 20 คน ก็มีความหลากหลายกันหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นเชื้อชาติ ก็มีทั้งคนไทย คนฟิลิปปินส์ คนออสเตรเลีย อายุก็มีตั้งแต่ 20 ต้นๆ ถึง 40 กลางๆ ประสบการณ์ในบริษัทก็มีตั้งแต่ 2 ปี ไล่ไปถึง 20 กว่าปี จาก 5 แผนกหลักของบริษัท

ตอนแรกผมก็ิคิดว่าประชุมครั้งนี้คงจะเถียงไป เถียงมาจนเลยเย็น แล้วก็ไ่ม่ค่อยได้อะไรเท่าที่ควร

แต่ที่ไหนได้…

ผมรู้สึกว่าเป็นการประชุมที่ดีที่สุดครั้งหนึ่งในชีวิตการทำงานของผมทีเดียว (ไม่ได้เว่อร์นะ)

เพราะแม้ว่าจะเลิกช้ากว่าแผนที่วางไว้เกือบหนึ่งชั่วโมง แต่ทุกคนก็รู้สึกว่าเป็นการใช้เวลาอย่างเป็นประโยชน์มากๆตลอดการประชุมทั้งวัน

หลังจากประชุมทุกคนดูยิ้มแย้ม แจ่มใส เผลอๆจะดูมีพลังมากกว่าตอนเช้าอีก แม้แต่คนอื่นที่ไม่ได้ประชุมด้วยก็ทักว่า ประชุมกันจริงรึป่าว?  -_-”

พอมานั่งคิดดูว่าอะไรบ้างเป็นปัจจัยให้ได้ผลลัพธ์อย่างที่ได้จากกลุ่มคนที่มีความหลากหลาย ก็สรุปได้ว่า

1. การมีเป้าหมายร่วมกันของทุกคนในที่ประชุม ไม่ว่าจะคุณจะมาจากแผนกไหน สวมหมวกสีอะไร ทุกคนก็ต้องการจะเห็นบริษัทสามารถทำผลงานได้อย่างยอดเยี่ยม ซึ่งแน่นอนว่าไม่ใช่แค่แผนกใด แผนกหนึ่งเท่านั้น

2. การยอมรับและเคารพในความเห็นของทุกคน แม้ว่าคนที่ค้านความคิดเห็นของคุณอาจจะอยู่คนละส่วนงาน หรือประสบการณ์ทำงานยังไม่มาก แต่ทุกคนก็ยินดีที่จะให้โอกาสและยอมรับฟังความคิดเห็น แทนที่จะปิดโอกาสไม่ให้พูด เพราะทุกคนต่างยอมรับและเคารพในตัวบุุคคลซึ่งกันและกัน หลายๆครั้งพี่พบว่าความคิดที่ยอดเยี่ยมนั้นมาจากคนที่เราคิดไม่ถึง เพียงแค่เรายอมรับที่จะฟังความคิดเห็นของเขา

3. การแสดงความคิดเห็นอย่างสร้างสรรค์ ข้อนี้เป็นจุดตายของหลายๆทีม ที่ทุกคนมีเป้าหมายร่วมกัน มีการยอมรับและเคารพในความคิดเห็นของผู้อื่น แต่ไม่สามารถแสดงความคิดเห็นอย่างสร้างสรรค์ได้ การแสดงความคิดอย่างสร้างสรรค์ต้อง (1)ไม่โยงเป็นเรื่องส่วนตัว แต่มุ่งที่ตัวความคิดนั้นทั้งจุดแข็ง และจุดอ่อน  (2) กล้าที่จะพูด ถ้ามั่นใจว่าความเห็นมีประโยชน์ต่อทีม แม้ว่าอาจจะไม่ถูกใจบางคน (3) พยายามพูดเสริมจากคนที่พูดก่อนหน้า โดยบอกจุดที่เห็นด้วย และจุดที่จะเสริม

อย่าให้ความแตกต่างของความคิืดเป็นจุดอ่อนของทีม ดึงประโยชน์จากความต่างนี้ได้ความแตกต่างจะเป็นจุดแข็งที่สุดของทีม

ผมพูดกับทีมของผมเสมอว่า “ถ้าคุณคิดเหมือนผมทุกอย่าง แสดงว่าต้องมีใครซักคนที่เป็นส่วนเกิน และแน่นอนคนนั้นไม่ใช่ผม”