ฆ่าไก่เอาไข่ทองคำ?

 

สำนวนฆ่าไก่ (หรือ เป็ด หรือ ห่าน) เอาไข่ทองคำ มาจากนิทานอีสปเรื่อง ไก่ที่ไข่เป็นทอง

ซึ่งเชื่อว่าหลายคนก็เคยได้ยินได้ฟังมาแต่เด็ก

ผมไม่คิดว่าจะได้เข้าใจสำนวนนี้มากขึ้นจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นที่บริษัทเร็วๆนี้

เรื่องก็มีอยู่ว่าพนักงานกลุ่มหนึ่งได้ยื่นข้อเรียกร้องกับผู้บริหาร เพื่อขอเพิ่มสวัสดิการต่างๆจากที่บริษัทให้

ในกรณีนี้ผมสวมหมวก2ใบ ทั้งในฐานะพนักงาน และหัวหน้างาน

ซึ่งเป็นข้อได้เปรียบในการมองและเข้าใจสถานการณ์เดียวกันจากสองด้าน

ในฐานะพนักงาน แน่นอนว่าการได้อะไรเพิ่มอะไร ก็ยิ่งดี ยิ่งมากยิ่งชอบ

แต่ในฐานะหัวหน้างาน ผมก็เข้าใจว่าสถานการณ์ของบริษัท สามารถในการแข่งขัน และต้นทุนมีความสำคัญอย่างไร ควบคู่ไปกับความพยายามของบริษัทเพื่อดึงดูด และรักษาพนักงานที่มีความสามารถไว้ด้วย

ถามว่าอะไรคือจุดสมดุลของทั้งสองฝ่าย

ผมมองว่าในส่วนของพนักงาน ความเข้าใจภาพกว้างของธุรกิจ ของสถานการณ์เศรษฐกิจ และการมองระยะยาวมากกว่าระยะสั้น

ในขณะที่บริษัทก็ต้องเข้าใจสิ่งที่พนักงานต้องการจริงๆ ที่เป็นตัวผลักดันให้เกิดการเคลื่อนไหวนี้ ซึ่งอาจไม่ใช่ข้อเรียกร้องเหล่านั้น แต่อาจหมายถึงการขาดการฟังและเข้าใจอย่างไม่มีอคติจากหัวหน้างาน และผู้บริหาร ทำให้พนักงานต้องพึ่งบุคคลที่สามที่ไม่ใช่บริษัท

ผมเชื่อว่าจะช่วยให้ทั้งสองฝ่ายเข้าใจกันและกันมากขึ้น

สำหรับพนักงานผมให้คิดยาวๆ ว่าเราอยากฆ่าไก่เพื่อเอาไข่ทองคำ หรือควรช่วยกันขุนไก่ให้แข็งแรงเพื่อที่จะออกไข่ทองคำให้เราได้มากขึ้น?

__________________________________

ป.ล. บทความนี้เป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ได้เป็นมุมมองหรือจุดยืนของบริษัทแต่อย่างใด

 

ตอนนี้หลายบริษัทกำลังสนใจการเพิ่มคุณค่า และลด(งาน)ที่ไม่เพิ่มคุณค่ากันใหญ่

การเพิ่มคุณค่า หรือ value added นั้น หลายคนยังเข้าใจผิดจากที่ควรเป็นอยู่มาก

เพราะไปติดกับกรอบ หรือการตีความว่างานนี้เป็นการเพิ่มคุณค่าหรือไม่ อย่างไร

พอดีผมได้ไปอ่านเจอประโยคนึงจากหนังสือพิมพ์แล้วคิดว่าตรงดีเลยเอามาฝากกัน

Value is defined by the Receiver more than the Giver – Wayne Brockbank

แปลง่ายๆว่าคุณค่านั้นกำหนดผู้รับมากกว่าผู้ให้…

อ่านแล้วปิ้งเลย

ลองคิดดูว่าหลายๆอย่างที่เราทำมันมีคุณค่า หรือเพิ่มคุณค่าให้กับผู้รับหรือไม่?

หลายครั้งที่เรา (รวมทั้งผมเอง)ก็เอาตัวเองตั้ง แล้วคิดว่าผู้รับ (ลูกค้า) ต้องอยากได้สิ่งนี้แน่ๆ แต่ความจริงเขาไม่ได้เห็นคุณค่า หรือรู้สึกว่าสิ่งที่เราทำนี้เพิ่มคุณค่าให้กับตัวเขา

ตั้งโจทย์ดีๆ ว่าใครเป็นผู้รับ หรือลูกค้าของเราก่อนเริ่มแบ่งว่า งานหรือกิจกรรมนั้นๆเพิ่มคุณค่า(กับผู้รับ)หรือไม่??

 

ความหมายของทีมในความคิดของคุณคืออะไร?

ผมเคยคิดว่า ทีม คือ กลุ่มคนที่มีเป้าหมายร่วมกันที่ทำงานชิ้นหนึ่งออกมา

จนกระทั่งวันนี้ได้ฟังคุณ Tom Lally จาก HR ได้อธิบายถึงความหมายของทีม

Team is a group of people working toward common goals/objectives and generate exceptional result. Otherwise, it’s not a team. It’s just a group of people. – Tom Lally

ว่านอกเหนือจากมีเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ร่วมกันแล้ว ทีมต้องสร้างผลลัพธ์ที่สุดยอดอีกด้วย ไม่อย่างนั้นก็เป็นแค่กลุ่มคนทำงานธรรมดา ไม่ใช่ทีม

พอฟังเสร็จ กรอบความคิดของผมก็ขยับ ทันที…

กลับมานึกถึงทีมตัวเอง (ไม่รู้ว่ายังเรียกว่าทีมอยู่ได้รึป่าว?)

มีการบ้านให้ทำอีกเยอะเลย เพื่อให้ได้เป็นทีมจริงๆ…

แล้วทีมของคุณล่ะ เป็นทีม หรือเพียงแค่กลุ่มคนทำงานร่วมกัน…
________________________________________________________________________________

ถ้าชอบบทความนี้ คุณอาจจะสนใจ Monday’s Spark with Chutchapol.com ซึ่งผมคัดไอเดียเจ๋งๆ คำถามสั้นๆ ที่จะช่วยกระตุ้นพลังในการทำงานทุกเช้าวันจันทร์

Click Here to Subscribe

 

การทำงานในบริษัทข้ามชาตินั้นไม่ใช่เรื่องง่าย

การประสบความสำเร็จในบริษัทข้ามชาติยิ่งไม่ง่ายเข้าไปใหญ่

สาเหตุหนึ่งมาจากความหลากหลายทางวัฒนธรรมในองค์กร ซึ่งเป็นธรรมดาที่ผู้บริหารระดับสูงที่มาจากหลายเชื้อชาติ หลากวัฒนธรรมจะตีความพฤติกรรมของคนต่างวัฒนธรรมต่างกันออกไป

สองอาทิตย์ที่แล้วผมได้มีโอกาสฟังคุณ Jet Antonio, Purchasing Director ซึ่งเป็นคนฟิลิปปินส์ที่ ประสบความสำเร็จในสายงาน และมีประสบการณ์ทำงานใน 6 ประเทศ มาเล่าให้ฟังถึงมุมมองที่คนตะวันตกตีความค่านิยมของเรา(คนเอเชีย)ในการทำงาน (more…)